หนังสือการ์ตูนที่จุดประกายความฝันสำหรับผู้ที่อยากเป็นนักกีฬาเทนนิส

สมัยวัยเด็กสิ่งที่หลายคนมักถูกถามอยู่เสมอคงหนีไม่พ้นคำถามที่ว่า “โตขึ้นแล้วอยากเป็นอะไร” ซึ่งในตอนเด็กทุกคนมักจะตอบกันในไม่กี่อาชีพที่รู้จัก โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นอาชีพที่รับรู้จากการเริ่มต้นเรียนรู้ชื่ออาชีพตามโรงเรียนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น คุณครู ตำรวจ ทหาร หรือคุณหมอ ทั้งหมดมักเป็นคำตอบอันดับหนึ่งของทุกคนในสมัยเด็ก หลังจากนั้นพอเริ่มเติบโตขึ้น ทุกสิ่งแวดล้อมรอบตัวรวมถึงการเรียนรู้ได้เปลี่ยนแปลงไปตามการเติบโตของชีวิต ทำให้สิ่งที่อยากเป็นในวัยเด็กอาจจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลาที่มากขึ้นไปจนถึงการที่ได้อยากจะทำอาชีพนั้นอย่างแท้จริง สิ่งแวดล้อมมากมายที่เข้ามาแทรกซึมสอนสั่งระหว่างการดำเนินชีวิตมีด้วยกันหลายรูปแบบ ทั้งจากการเรียนหนังสือ จากทางโทรทัศน์ รวมไปถึงจากทางหนังสือการ์ตูนอีกด้วย และสำหรับในกีฬาเทนนิสนั้นสิ่งที่จุดประกายให้ผู้คนต้องการก้าวไปเป็นนักกีฬาอาชีพนอกจากจะได้สัมผัสจากทางการเรียนรู้ และจากทางโทรทัศน์แล้ว หนังสือการ์ตูนยังเป็นอีกเส้นทางของประกายความฝัน ที่จะผลักดันให้กีฬาเทนนิสได้มีผู้สืบสานกีฬาชนิดนี้มากขึ้นต่อไปในอนาคต โดยหนังสือการ์ตูนเกี่ยวกับกีฬาเทนนิสที่เป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันนั้น เป็นหนังสือการ์ตูนที่วาดและผลิตขึ้นจากนักวาดการ์ตูนของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมดถึง 10 เรื่อง ได้แก่  Aim for the Ace!, Love ผู้ชายหัวใจสีชมพู, สู้เพื่อฝันพลังแห่งรัก, GUTs เทนนิสจิ๋วจอมลุย, Stay Gold, Happy!, Softenni, Baby Steps  และ Prince of tennis ที่ซึ่งเป็นหนังสือการ์ตูนกีฬาเทนนิสอันเป็นที่นิยมที่สุดกว่าทุกเรื่อง จนทำให้มีการผลิตภาคที่สองออกมาอย่างต่อเนื่องในชื่อว่า New prince of tennis อีกทั้งเรื่องราวในหนังสือการ์ตูนที่เขียนนั้นเป็นเรื่องราวที่มีการดำเนินเรื่องคล้ายคลึงกับเรื่องราวของนักเทนนิสชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า เค

เฟด คัพ การแข่งขันเทนนิสผู้หญิงอันทรงเกียรติของโลก

ในแวดวงการกีฬาส่วนมากนักกีฬาที่ประสบผลสำเร็จและมีชื่อเสียงโด่งดังนั้น มักจะเป็นนักกีฬาผู้ชาย เพราะว่าในการแข่งขันกีฬาที่เป็นที่นิยมต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้สรีระร่างกายที่แข็งแรงหนักหน่วงในการแข่งขันกีฬา พร้อมทั้งยังต้องใช้ความอึดของร่างกายที่มากขึ้นกว่าเดิมในการทำให้ได้รับชัยชนะในแต่ละการแข่งขัน แต่สำหรับในกีฬาเทนนิสแล้วผู้หญิงสามารถที่จะใช้สรีระในการแข่งขันได้อย่างง่ายดาย พร้อมทั้งสามารถสร้างบันไดก้าวขึ้นไปเป็นนักกีฬาที่ยิ่งใหญ่ของโลกใบนี้ได้ในรายการแข่งขัน เฟเดอเรชั่น คัพ ศึกอันทรงเกียรติที่สุดของนักเทนนิสหญิง ในปี 1963 การแข่งขันกีฬาเทนนิสสำหรับผู้หญิงได้ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองงานครบรอบ 50 ปี สหพันธ์เทนนิสนานาชาติหรือไอทีเอฟในปีนั้น หลังจากนั้นทั้งนักกีฬาและผู้รับชมกีฬาได้ตอบรับและให้ความสนใจกับการแข่งขันกีฬาเทนนิสรายการนี้เป็นอย่างมาก พร้อมทั้งต้องการให้รายการนี้จัดการแข่งขันขึ้นอีกในครั้งต่อไป ดังนั้นทางสหพันธ์เทนนิสนานาชาติจึงได้จัดตั้งรายการแข่งขันที่มีชื่อว่า เฟเดอเรชัน คัพ ขึ้นมาเพื่อสานต่อแนวทางความนิยมในการแข่งขันกีฬาเทนนิสที่แข่งขันเฉพาะนักเทนนิสหญิงเท่านั้น ซึ่งความนิยมที่ได้รับในการแข่งขันรายการนี้ได้เพิ่มพูนมากขึ้นในทุก ๆ ปี จนกลายมาเป็นการแข่งขันกีฬาเทนนิสหญิงระดับนานาชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกที่มีนักกีฬาเทนนิสหญิงเข้าร่วมแข่งขันถึง 97 ชาติในปัจจุบัน รูปแบบของการแข่งขันรายการ เฟเดอเรชัน คัพ มีการเปลี่ยนแปลงหลายต่อหลายครั้งนับตั้งแต่ปี 1995 ที่ได้เปลี่ยนชื่อรายการแข่งขันมาเป็น เฟด คัพ เพื่อต้องการให้ชื่อรายการแข่งขันนั้นสั้นลง โดยรูปแบบการแข่งขันในปัจจุบันนั้นได้ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มการแข่งขัน พร้อมทั้งแข่งขันกันในแบบเหย้าและแบบเยือนเป็นระยะเวลา 3 อาทิตย์ ติดต่อกัน ซึ่งนักเทนนิสที่มีอายุน้อยที่สุดในรายการแข่งขันรายการนี้คือ เดนิส ปานาโกปูลู จากกรีซ ซึ่งลงเล่นด้วยวัยเพียงแค่ 12 ปี เท่านั้น ส่วนผู้เล่นที่อายุมากที่สุดคือ กิลล์ บัตเตอร์ฟิลด์

นักกีฬาเทนนิสอาชีพที่หูไม่ได้ยินคนแรกและคนเดียวของโลก

วิธีการเล่นกีฬาเทนนิสนั้นเป็นการเล่นกีฬาที่ต้องใช้ผู้เล่นตั้งแต่สองคนขึ้นไปจนถึงสี่คนในการเล่นกีฬาชนิดนี้  โดยจะต้องใชอุปกรณ์ในการตีลูกเทนนิสที่เรียกว่า แร็กเก็ต ทำการตีโต้ตอบกันไปมาให้ลูกเทนนิสลงไปยังฝั่งแดนฝ่ายตรงข้าม และหากฝั่งใดฝั่งหนึ่งไม่สามารถรับลูกเทนนิส ที่ถูกตีจากฝั่งตรงข้ามโต้ตอบกลับไปได้ จะเท่ากับว่าพ่ายแพ้ในการตีโต้ตอบครั้งนั้น ซึ่งจะตีโต้ตอบกันไปจนกว่าจะแพ้ชนะตามกฎของกีฬาเทนนิส โดยทักษะที่ใช้ในการแข่งขัน หรือเล่นกีฬาเทนนิสต้องใช้ความแข็งแกร่งของร่างกาย สายตา และสมองเท่านั้น ส่วนหูที่ไว้ใช้สำหรับได้ยินเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถทำให้เพิ่มทักษะในการคาดคะเนความเร็วของเสียงสะท้อนของการตีลูกได้ แต่ถ้าหากหูที่ได้ยินใช้การไม่ได้ ก็ไม่ได้ทำให้ความสามารถในการเล่นหรือการแข่งขันกีฬาเทนนิสหมดไป ซึ่งได้มีการพิสูจน์วิถีทางการเล่นโดยที่หูไม่ได้ยินแล้วว่าเป็นไปได้ จากนักเทนนิสสุดพิเศษ ลี ดัค ฮี นักเทนนิสอาชีพชาวเกาหลีใต้ผู้ซึ่งหูไม่ได้ยินมาโดยกำเนิดคนแรก และคนเดียวของโลกใบนี้ ลี ดัค ฮี นักเทนนิสชายจากดินแดนโสมขาว ประเทศเกาหลีใต้ เป็นนักเทนนิสที่มีความพิการทางหูมาตั้งแต่กำเนิด โดยได้เริ่มฝึกทักษะเทนนิสตั้งแต่อายุ 17 ปี จากบิดาผู้กลายมาเป็นโค้ชส่วนตัว ซึ่งครอบครัวของ ลี ดัค ฮี ได้ฝึกสอนให้ฝึกการพูดภาษาเกาหลีโดนอ่านจากริมฝีปากแบบไม่ใช้ภาษามือในการพูดคุย ทำให้การฝึกกีฬาเทนนิสของ ลี ดัค ฮี เป็นเรื่องที่สามารถเป็นไปได้อย่างไม่ยากเย็น สำหรับในการฝึกซ้อมต่อมาในอนาคตหลังจากที่ได้ฝึกกับบิดาจนสำเร็จนั้น โค้ชเกาหลีที่เป็นผู้ฝึกสอนได้ใช้วิธีการเขียนบนกระดาษ และการพิมพ์บนโทรศัพท์มือถือในการฝึกซ้อมเพิ่มเติม แต่ปัญหาในการเล่นและแข่งขันกีฬาเทนนิสที่ต้องเผชิญในทุกครั้งนั้น คือการไม่สามารถสื่อสารกับผู้ตัดสินและผู้กำกับเส้นได้ในตลอดทั้งเกมส์ เพราะไม่สามารถอ่านริมฝีปากของผู้ตัดสินพร้อมกับการใช้สมาธิแข่งกีฬาไปพร้อมกันได้ จึงทำให้จังหวะในการเล่นที่ต่อเนื่องต้องขาดตอนและเสียท่าฝ่ายตรงข้ามในเกือบทุกครั้งของการแข่งขัน ในอดีตมีคนเคยพูดกับ ลี ดัค ฮี ว่าไม่สามารถที่จะกลายเป็นนักกีฬาเทนนิสที่เก่งได้เพราะหูหนวก ทำให้เกิดความท้อแท้ขึ้นอย่างมากในจิตใจ

การเดินทางข้ามโลกของกีฬาเทนนิสสู่ดินแดนขวานทองประเทศไทย

การเดินทางเปรียบเสมือนกับการท่องเที่ยว ที่มาพร้อมกับการผจญภัยและความสนุกสานที่ยากจะหยั่งถึง ซึ่งในความยากจะหยั่งถึงนั้นยังคงมีประวัติศาสตร์แห่งความทรงจำที่งอกเงยระหว่างทาง และได้ผลิดอกออกผลมาจนถึงปัจจุบัน แม้จะผ่านเส้นทางเหล่านั้นมานานแสนนาน ดังเช่นกับกีฬาเทนนิสที่เติบโตขึ้นในดินแดนอันไกลโพ้นและได้ข้ามน้ำข้ามทะเลและท้องฟ้ามางอกเงยเติบโตอย่างสวยงามที่ดินแดนขวานทองประเทศไทย จนกลายเป็นกีฬาที่งดงามและนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีชาวต่างชาติเข้ามาทำการค้าและธุรกิจเป็นอย่างมากในประเทศไทย ซึ่งได้มีทั้งประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาร่วมทำการค้าภายในประเทศไทยในช่วงเวลานั้นด้วย พร้อมทั้งได้นำการเล่นกีฬาเทนนิสเข้ามาเล่นกันภายในประเทศไทย โดยในตอนแรกนั้นมีเพียงแค่ชาวต่างชาติเล่นเท่านั้นก่อนที่จะเริ่มได้รับความสนใจจากคนไทยชั้นสูงพร้อมกับข้าราชการชั้นสูงจนได้เริ่มมาฝึกเล่นด้วยกันกับชาวต่างชาติและเรียกการเล่นกีฬานี้ว่าลอนเทนนิส การเล่นกีฬาเทนนิสในสมัยนั้นต้องนุ่งกางเกงขายาวสีขาว ตามแบบฉบับบของรายการวิมเบิลดัน ถือเป็นการให้เกียรติและเคารพตามหลักกติกาสากล หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2469 กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้ทรงจัดตั้งสมาคมลอนเทนนิสแห่งประเทศไทยขึ้นมา เพราะเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่ประชาชนทั่วไปจนได้มีการจัดการแข่งขันลอนเทนนิสแห่งประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรกที่สโมสรสีลมในปี พ.ศ. 2470 ในอีก 1 ปีต่อมา จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงรับเอาสมาคมลอนเทนนิสแห่งประเทศไทยเข้ามาไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ เนื่องจากพระองค์ทรงโปรดกีฬาเทนนิสเป็นอย่างมากและทรงเทนนิสที่วังสุโขทัยอยู่เสมอ หลังจากนั้นได้มีการจัดการแข่งขันขึ้นมามากมายในหลายระดับชั้นอายุทั่วประเทศเพื่อคัดความเป็นที่หนึ่งในด้านกีฬาเทนนิสของประเทศไทย ซึ่งในเวลาต่อมากีฬาเทนนิสยังได้ถูกบรรจุลงในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 5 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปี 2509 เป็นครั้งแรกอีกด้วย และชัยชนะในระดับนานาชาติของประเทศไทยเกิดขึ้นครั้งแรกในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 8 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2521 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพอีกครั้ง โดยนักเทนนิสประเภทคู่ผสมของไทย คือ จารึก เฮงรัศมี นักเทนนิสชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ และสุทธาสินี ศิริกายะ ได้คว้าแชมป์เป็นเกียรติประวัติครั้งแรกให้กับประเทศไทย ซึ่งในเวลาต่อมาการเล่นกีฬาเทนนิสของประชาชนชาวไทยได้พัฒนาขึ้นไปอย่างคาดไม่ถึง โดยในระดับโลกนั้นนักเทนนิสชาวไทย ภราดร ศรีชาพันธ์ได้นำสุดยอดความสามารถไปสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการกีฬาเทนนิสไทยด้วยการก้าวขึ้นไปเป็นมือวางอันดับ

วิมเบิลดันการแข่งขันเทนนิสที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

อารยธรรมที่มีมาอย่างยาวนานหลายชั่วอายุคนและสามารถสืบสานมาจนถึงปัจจุบันได้นั้น มักเต็มเปี่ยมไปด้วยมนต์ขลังของความเร้าละมุนภายในจิตใจ พร้อมทั้งยังแฝงไปด้วยขนบประเพณี วัฒนธรรมของเรื่องราวถิ่นกำเนิดที่ได้เล่าขานต่อกันมาผ่านอารยธรรมเหล่านั้น ซึ่งเหมือนกับการแข่งขันกีฬาเทนนิสรายการวิมเบิลดัน ที่เป็นรายการเทนนิสที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและยังเป็นรายการที่เต็มไปด้วยกฎอารยะเก่าแก่ที่ยังใช้มาจนถึงปัจจุบัน วิมเบิลดัน คือชื่อของเมืองหนึ่งในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ที่เป็นสถานที่ตั้งของสนามแข่งขันเทนนิสแกรนด์แสลมที่ยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งชื่อของรายการการแข่งขันนั้นได้ถูกตั้งชื่อให้เหมือนกับเมืองที่ได้จัดตั้งนั้นว่าวิมเบิลดัน โดยได้จัดการแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1877 และเป็นการแข่งขันเทนนิสครั้งแรกของโลกอีกด้วย ซึ่งการแข่งขันวิมเบิลดันจะจัดการแข่งขึ้นในแกรนด์แสลมที่สามถัดจากออสเตรเลียโอเพนและเฟรนซ์โอเพน ในช่วงเดือนมิถุนายนไปจนถึงกรกฎาคมของทุกปี สำหรับสนามในการแข่งขันวิมเบิลดันนั้นจะใช้สนามแบบพื้นหญ้าในการแข่งขัน และเป็นรายการเดียวเท่านั้นในปัจจุบันที่ใช้สนามแบบพื้นหญ้าในการแข่งขัน เนื่องจากต้องการรักษาประเพณีการเล่นบนผืนหญ้าเอาไว้เหมือนกับในการเริ่มต้นการแข่งขันเทนนิสครั้งแรกที่สนาม ออล อิงแลนด์ คลับ ที่ซึ่งยังเป็นที่ตั้งของสมาคมเทนนิสของสหราชอาณาจักรอีกด้วย นอกจากนี้การแข่งขันวิมเบิลดันยังได้รักษาอารยะของประเพณีการแข่งขันจากในอดีตมาจนถึงปัจจุบันหลายอย่าง อาทิเช่น นักกีฬาต้องสวมชุดเทนนิสสีขาวในการแข่งขันเท่านั้น, บนบอร์ดการแข่งขันจะต้องใช้คำว่า Gentlemen และ Lady, การเรียกชื่อของนักกีฬาจะต้องใช้คำว่า Mr. และ Mrs. หรือ Miss,ในสนามจะไม่มีป้ายโฆษณาใด ๆ เลยยกเว้นนาฬิกาบอกเวลาการแข่งขันยี่ห้อ Rolex เท่านั้น และของหวานสตอร์เบอรี่ราดครีมประจำรายการแข่งขันที่เป็นสัญลักษณ์ของการแข่งขัน เป็นต้น และอีกหนึ่งเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของวิมเบิลดันก็คือ เซนเต็อร์คอร์ท ขนาดใหญ่ที่ถูกทาด้วยสีเขียวทั้งหลัง ซึ่งใช้เป็นสนามหลักในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศของชายเดี่ยวและหญิงเดี่ยว รายละเอียดจากอดีตส่งผ่านกาลเวลาก่อให้เกิดคำว่าตำนาน และรายการแข่งขันวิมเบิลดันนั้นเป็นรายการแข่งขันในตำนานที่มีเรื่องราวอยู่จริง โดยนักเทนนิสชายคนแรกที่ได้แชมป์ในรายการนี้คือ ร็อด เลเวอร์ จากประเทศออสเตรเลีย และนักเทนนิสหญิงที่ได้แชมป์คนแรกรายการนี้คือ บิลลี่ จีน คิง

ภาพยนตร์ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากกีฬาเทนนิส ที่ควรค่าแก่การรับชม

ความน่าหลงใหลของกีฬาเทนนิสมีด้วยกันหลากหลายมิติมาอย่างช้านาน จึงทำให้ระดับกีฬาเทนนิสมีความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งยังรักษาความยาวนานอันเก่าแก่มาได้จวบจนปัจจุบัน อีกทั้งยังได้สร้างแรงบันดาลใจและความฝันให้เด็กรุ่นใหม่ทั่วโลก ได้มีหนทางและบันไดที่จะก้าวขึ้นไปเป็นนักกีฬาอาชีพ ที่จะสานต่อกีฬานี้ให้พัฒนามากขึ้นไปในอนาคต ซึ่งกีฬาเทนนิสนอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับความใฝ่ฝันของเด็กรุ่นใหม่ในอนาคตแล้ว ยังได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับแวดวงภาพยนต์อีกด้วย ภาพยนตร์ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากกีฬาเทนนิสที่ได้สร้างและออกฉายสู่สายตาทั่วโลกแล้ว มีด้วยกันทั้งหมด 2 เรื่องคือ แมทช์พอยท์ และ วิมเบิลดัน โดยทั้งสองเรื่องมีการนำเสนอเกี่ยวกับกีฬาเทนนิสออกมาในคนละแนวทาง ซึ่งเรื่องของแมทช์พอยท์นั้นเป็นภาพยนต์ที่นำเสนอเกี่ยวกับการเปรียบเทียบการเล่นเทนนิส กับเรื่องราวของชีวิตที่ต้องตัดสินใจลงไปให้ดีที่สุด ราวกับการตัดสินใจหวดลูกเพื่อชัยชนะในครั้งสุดท้าย ส่วนในภาพยนตร์เรื่องวิมเบิลดันนั้น เป็นการนำเสนอเรื่องราวของนักกีฬาเทนนิสในระหว่างการแข่งขัน เพื่อไปให้ถึงจุดสุดท้ายของสุดยอดแกรนด์แสลมที่เรียกว่าวิมเบิลดัน ทั้งสองเรื่องราวภาพยนตร์มีการดำเนินเรื่องที่แตกต่างกัน แต่ในทั้งสองเรื่องนั้นก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากกีฬาเทนนิสด้วยกันทั้งสองเรื่อง โดยภาพยนตร์เรื่องแมทช์พอยท์ ที่กำกับจากฝีมือของวู๊ดดี้ อัลเลน ยอดผู้กำกับชื่อดังของอุตสาหกรรมภาพยนต์ ได้นำสิ่งที่ได้สัมผัสจากการแข่งขันกีฬาเทนนิสมาถ่ายทอดเรื่องราวให้ผนวกกับการใช้ชีวิตได้อย่างเข้มข้นและละเอียดอ่อน ส่วนในภาพยนตร์เรื่อ วิมเบิลดันนั้น เป็นภาพยนตร์ที่กำกับโดย ริชาร์ด ลอนเครน ผู้กำกับรางวัลเอ็มมี อวอร์ดส ผู้ซึ่งได้ใช้กลิ่นอายของการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดันมาละลายแรงบันดาลใจผ่านทางแผ่นฟิล์มให้หัวใจของผู้รับชมตื่นเต้นไปกับเรื่องราวส่วนลึกของนักเทนนิส ที่ต้องลงแข่งขันในรายการนี้ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ทำให้ทั้งคนที่ชื่นชอบเทนนิสและไม่ได้ชื่นชอบในกีฬาเทนนิส ได้ให้มาสนใจการแข่งขันกีฬาชนิดนี้มากขึ้น กีฬาที่กลายมาเป็นแรงบันดาลใจในการสรรสร้างในทิศทางที่แตกต่างออกไป มักเป็นกีฬาที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังและความสวยงาม ซึ่งกีฬาเทนนิสเป็นอีกชนิดกีฬาที่เพียบพร้อมไปด้วยคุณสมบัติเหล่านั้น จึงทำให้กีฬาเทนนิสกลายเป็นสัญลักษณ์ของแรงบันดาลใจอีกหนึ่งกีฬา ที่อยู่ในความฝันของคนทั่วโลกที่ฝันอยากจะเป็น และในปีนี้ยังมีภาพยนต์เกี่ยวกับเทนนิสอีกหนึ่งเรื่องที่กำลังจะฉายในเดือนพฤศจิกายน 2018 โดยมีชื่อเรื่องว่า Borg vs McEnroe เป็นเรื่องที่สามที่ใช้กีฬาเทนนิสในการถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับกีฬาเทนนิส ในศึกวิมเบิลดัลปี 1980 อันเป็นศึกที่ถูกยกย่องให้เป็นเกมส์การแข่งขันรอบสุดท้ายที่ยอดเยี่ยมที่สุดในประวัติศาสตร์วิมเบิลดัน

ATP การแข่งขันเทนนิสที่มีความเร็วลูกสูงที่สุดในโลก

กีฬาเทนนิสได้ถูกคิดขึ้นในปี 1877 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยเป็นการแข่งขันกีฬาเก่าแก่ที่เรียกว่า วิมเบิลดัน ของสังคมชั้นสูงในสมัยนั้น และได้กลายมาเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา อีกทั้งเมื่อการเล่นเทนนิสกลายเป็นที่นิยมจนกระจายวิธีการเล่นไปสู่ทุกชนชั้นแล้ว จึงได้มีการจัดการแข่งขันแบบทัวร์นาเมนต์ครั้งแรกขึ้นมาในปี 1926 ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งในการจัดการแข่งขันครั้งนั้นเองได้ส่งผลทำให้การแข่งกีฬาเทนนิสพลิกพันตัวเองก้าวขึ้นไปสู่ความนิยมในกีฬาระดับนานาชาติ พร้อมทั้งได้พัฒนาให้กลายมาเป็นกีฬาระดับอาชีพ รวมถึงยังได้ถูกบรรจุในกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรก ในปี 1988 ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้อีกด้วย ATP หรือ Association of Tennis Professionals คือ สมาคมเทนนิสอาชีพที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1972 สำหรับการจัดการแข่งขันเทนนิสชายรายการใหญ่ในเวทียุโรปและอเมริกาเหนือ ในสนามที่มีความแตกต่างกัน 3 แบบ ซึ่งมีความแตกต่างกันกับการแข่งขัน 4 รายการใหญ่ของโลก หรือแกรนด์แสลมในจำนวนของนักเทนนิสที่มีการเข้าร่วมแข่งขันน้อยกว่า พร้อมทั้งจะไม่มีการแข่งขันบนพื้นหญ้า แต่จะมีการจัดการแข่งขันบนพื้นผิวพรมสังเคราะห์ ที่ทำให้การวิ่งของลูกเทนนิสมีอัตราความเร็วในการวิ่งของลูกสูงมากกว่าการแข่งขันในทุกรายการอื่น ๆ นอกจากนี้ในการแข่งขันรายการระดับเอทีพีจะมีคะแนนสะสมสูงกว่ารายการการแข่งขันทั่วไป แต่จะต่ำกว่า 4 รายการใหญ่ของแกรนด์แสลมและรายการแข่งขันมาสเตอร์คัพที่เป็นรายการท้ายสุดของทุกปี ปัจจุบันรายการแข่งขันของ ATP ประกอบไปด้วยการแข่งขันใน  5 ประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา, ฝรั่งเศส, เสปน, อิตาลี และเยอรมัน โดยมีการแข่งขันกันตั้งแต่เดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน

แกรนด์ แสลม สุดยอดรายการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกีฬาเทนนิส

รายการที่ยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความท้าทายที่ใหญ่ยิ่งของนักกีฬาทุกคน พร้อมทั้งยังเป็นสิ่งที่ซึ่งนักกีฬาทุกคนจะต้องไปให้ถึง หากอยากจะเป็นสุดยอดหรือที่หนึ่งในเชิงกีฬานั้น ๆ โดยในกีฬาเทนนิสมีรายการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ทุกคนต้องไปให้ถึงคือ แกรนด์ แสลม ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนกีฬาเทนนิสให้พัฒนาและเป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่องแบบไม่มีวันที่สิ้นสุด แกรนด์ แสลม คือการแข่งขันกีฬาเทนนิสรายการใหญ่ 4 รายการ โดยจะทำการแข่งขันกันใน 4 ประเทศที่มีอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ฝรั่งเศส อังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งยังมีพื้นสนามในการแข่งขันแตกต่างกันอีกด้วย ซึ่งในประเทศออสเตรเลียจะเป็นสถานที่แทนการแข่งขันในเขตฤดูร้อน ที่มีสนามการแข่งขันเป็นแบบพื้นปูน ส่วนในประเทศอังกฤษจะเป็นสถานที่แทนการแข่งขันในเขตของฤดูฝน ที่มีสนามการแข่งขันแบบพื้นหญ้า รวมถึงในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เป็นสถานที่แทนการแข่งขันในเขตฤดูหนาวที่มีสนามการแข่งขันแบบพื้นปูน และในประเทศฝรั่งเศสที่ได้เป็นตัวแทนการแข่งขันในเขตฤดูใบไม้ผลิ ที่มีสนามการแข่งขันแบบพื้นผิวดิน ทำให้รายการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ของเทนนิสมีการแข่งขันอยู่ในทุกฤดูกาลตลอดทั้งปี ในปี 1993 จอห์น คีราน นักเขียนของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ได้ใช้คำว่า แกรนด์ แสลม เป็นครั้งแรกในวงการเทนนิส จนกลายมาเป็นที่นิยมและสืบสานเรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยรายการที่เรียกว่า แกรนด์ แสลม ประกอบไปด้วย 4 รายการ คือ รายการออสเตรเลียโอเพน เฟรนช์โอเพ่น วิมเบิลดัน และยูเอสโอเพน ในทั้งสี่รายการจะใช้ระยะเวลาการแข่งขันทั้งหมด 14 วันในการแข่งขันแบบประเภทเดี่ยว ซึ่งการแข่งขันรายการ

นักเทนนิสมือวางอันดับหนึ่งที่มีอายุมากที่สุดในโลก

อายุเปรียบเสมือนเครื่องเตือนเวลาของชีวิต ว่ากำลังอยู่ในช่วงจังหวะไหนของการใช้ร่างกายให้เกิดประโยชน์และปลอดภัยมากที่สุด ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ทุกคนคิดเสมอว่าเมื่อเวลาที่มีอายุมากขึ้น ร่างกายภายในส่วนต่าง ๆ จะถดถอยลงตามกาลเวลาในตัวเลขของอายุที่นับมากขึ้นไป แต่ในความเป็นจริงแล้วอายุที่มากขึ้น ร่างกายอาจจะไม่ได้ถดถอยเสมอไป อีกทั้งอาจจะแข็งแรงมากขึ้นด้วย ถ้าหากรู้จักวิธีสร้างศักยภาพของร่างกายให้พัฒนาขึ้นไปตามอายุ เหมือนกับ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ ที่เป็นนักเทนนิสมือวางอันดับ 1 ของโลก ในช่วงต้นปี 2018 ซึ่งมีอายุมากถึง 36 ปี นักเทนนิสผู้ซึ่งมากพรสวรรค์จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ ในความเป็นจริงแล้วก่อนที่จะหันมาเริ่มเล่นเทนนิสนั้น เฟเดอเรอร์ได้มีความฝันว่าจะเป็นนักฟุตบอลอาชีพมาก่อน และด้วยความสามารถในการเล่นฟุตบอลทำให้มีโอกาสที่จะได้เป็นนักฟุตบอลอาชีพจริง ๆ อีกด้วย แต่ในท้ายที่สุดได้ตัดสินใจเลือกเดินในเส้นทางของเทนนิสจนมีชื่อเสียงมาจวบจนปัจจุบัน  น โดยในรายการที่ทำให้เฟเดอเรอร์โด่งดังและเป็นที่รู้จักชองคนทั่วโลก คือรายการศึกวิมเบิลดัน ที่สามารถคว่ำ พีทแซมพราส แชมป์รายการวิมเบิลดัน 7 สมัย มาได้ในรอบก่อนรองชนะเลิศ ทำให้อันดับโลกพุ่งขึ้นมาอยู่อันดับที่ 13 หลังจากการแข่งขันนั้น ซึ่งต่อมาได้ขยับมาอยู่มือวางอันดับที่ 6 จากการเข้าชิงชนะเลิศในรายการเอทีพี มาสเตอร์ ซีรี่ย์ ได้เป็นครั้งแรก โดยการได้ประชันกับอังเดร อากัสซี่ ยอดนักเทนนิสจากประเทศสหรัฐ และได้เป็นเพียงแค่รองแชมป์ในรายการนั้น จนกระทั่งในปี 2003 ความสามารถที่แอบแฝงมานานได้ออกมาโลดแล่นแพรวพราวอย่างไร้ขีดจำกัด

การจัดอันดับโลกนักเทนนิสเปรียบเสมือนแสงแห่งความหวังของนักกีฬาเทนนิสทุกคน

การแข่งขันกีฬาเทนนิสเป็นกีฬาอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับทุกเพศทุกวัยในการรับชมและเฝ้าติดตาม อีกทั้งยังเป็นกีฬาที่ทุกคนยังนำไปฝึกเล่นกันอย่างกว้างขวางด้วยความสนุกสนาน จนกลายเป็นกีฬาที่สามารถเห็นได้ทั่วไปตามสถานที่ออกกำลังกายที่มีคอร์ทสนามเทนนิสตั้งอยู่ และนอกจากนี้กีฬาเทนนิสยังเป็นกีฬาที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับเด็กที่เฝ้าติดตามรับชมอยู่ทั่วทุกมุมโลก อยากก้าวขึ้นมาเป็นนักกีฬาเทนนิสอาชีพให้ได้ในสักวันหนึ่ง สำหรับในกีฬาเทนนิสนั้น มียอดฝีมือผู้มีทักษะชำนาญการมากมายในระดับมืออาชีพอยู่ในหลายประเทศ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องคัดสรรความเก่งกาจเป็นลำดับชั้นให้สามารถแยกแยะความสามารถในระดับมืออาชีพ ว่าใครอยู่ในระดับใหนของอาชีพกีฬาเทนนิส เพราะว่าลำดับขั้นที่ได้จัดเป็นอันดับนั้น จะทำให้กีฬาเทนนิสมีการพัฒนามากขึ้นต่อไปในอนาคตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด อีกทั้งยังเป็นความหวังของนักเทนนิสอาชีพหน้าใหม่ หรือนักเทนนิสมือสมัครเล่นให้ได้มีโอกาสพัฒนาฝีมือของตัวเองให้ก้าวไปในลำดับขั้นต่าง ๆ จนก้าวข้ามไปสู่ยังจุดสูงสุดของคำว่านักกีฬาเทนนิสมืออาชีพให้ได้ สำหรับนักเทนนิสชาย 10 อันดับแรกของโลกที่ถูกจัดตั้งในปี 2018 นี้ได้แก่ อันดับที่ 1 ราฟาเอล นาดาล นักเทนนิสชายจากประเทศสเปน อันดับที่ 2 โรเจอร์ เฟดเดอเรอร์ นักเทนนิสชายจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และอันดับที่ 3 มาริน ซิลิซ จากประเทศโครเอเชีย ทั้ง 3 คนเป็นนักเทนนิสมืออาชีพที่มีทั้งฝีมือและชื่อเสียงอย่างมากในเรื่องของความเก่งกาจในกีฬาเทนนิส ส่วนอันดับที่ 4 ได้แก่  อเล็กซานเดอร์ ซเวเรฟ นักเทนนิสจากประเทศเยอรมนี อันดับที่ 5 กริกอร์ ดิมิตรอฟ จากบัลแกเรีย อันดับที่ 6 ฮวน มาร์ติน เดล ปอโตร