เมื่ออินเดียน เวลล์ 2019 คือเวทีแจ้งเกิดของดาวรุ่งรุ่นต่อไป

รายการแข่งขันเทนนิสมาสเตอร์ที่แคลิฟอร์เนียปีนี้ คือเครื่องพิสูจน์ว่าอะไรก็เป็นไปได้ เพราะสองแชมป์ทั้งชายและหญิงต่างสร้างปรากฏการณ์พลิกล็อคในนัดชิงชนะเลิศด้วยกันทั้งคู่ ศึกอินเดียน เวลล์ส มาสเตอร์ในรายการ BPN Paribas Open กลางเดือนมีนาคมกลายเป็นที่ฮือฮา เมื่อนัดชิงชนะเลิศฝ่ายชายจบลงด้วยการที่เจ้าของแชมป์แกรนด์ สแลม 20 รายการอย่างโรเจอร์ เฟเดอร์เรอร์พ่ายไป 1-2  เซตรวดให้นักเทนนิสออสเตรียวัย 25 โดมินิค เตียม ซึ่งยังไม่เคยชนะรายการมาสเตอร์ 1000 มาก่อนได้นับหนึ่งเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านี้เตียมแทบจะหาฟอร์มการเล่นที่ดีไม่ได้เลยในหลายทัวร์นาเมนต์ การเตรียมตัวและลงเล่นที่แคลิฟอร์เนียตลอด 10 วันจึงเหมือนเป็นเรื่องเหลือเชื่อ แม้กระทั่งหลังจากได้ชัยชนะเหนือเฟเดอร์เรอร์และคว้าแชมป์ได้ เขาก็ยังคงพูดว่าทั้งหมดนี่เหมือนไม่ใช่เรื่องจริงอยู่ดี หากการเอาชนะเฟเดอร์เรอร์และคว้าแชมป์มาสเตอร์รายการแรกตั้งแต่เทิร์นโปรสู่มืออาชีพของเตียมดูไม่ใช่เรื่องจริง การคว้าแชมป์ของเบียงก้า อันเดรสคูก็น่าจะเป็นเทพนิยายเรื่องใหม่ของรายการเอทีพีทัวร์ สาวน้อยชาวแคนาดาวัย 18 ปีผ่านเข้ารอบมาในฐานะมือไวลด์การ์ด ต้องลงเล่นตั้งแต่รอบ 128 คนและฝ่าฟันผ่านนักเทนนิสแรงค์กิ้งสูงกว่าคนแล้วคนเล่ามาได้ รวมถึงการพลิกเอาชนะเอลิน่า สวิโตลิน่า มือวางอันดับ 6 โลก 2-1 เซต แต่คู่แข่งที่ยืนรออยู่ในรอบชิงอย่างอันเจลิค แคร์เบอร์ มือวางอันดับ 8 ของโลกก็ทำให้ทุกคนเชื่อว่าเธอคงทำได้ดีสุดแค่เข้าชิงเท่านั้น ในเกมนัดชิงเบียงก้าสามารถขึ้นนำได้ก่อนอย่างเซอร์ไพรซ์ แต่แคร์เบอร์ก็ตามเอาคืนได้ รวมถึงในเซตสุดท้ายที่เบียงก้ามีอาการบาดเจ็บที่ขา ถึงอย่างนั้นเธอก็กัดฟันสู้กับนักเทนนิสหญิงที่ได้ชื่อว่าฟิตที่สุดคนหนึ่งของวงการปัจจุบันและเอาชนะไปได้อย่างพลิกล็อค เป็นผู้เล่นที่ไม่ได้เป็นมือวางคนที่

จากฟิวเจอร์ถึงแกรนด์ สแลม รายการเทนนิสแบ่งระดับอย่างไร?

การที่เทนนิสเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และสามารถพัฒนาเป็นอาชีพได้ ทำให้นักกีฬาเทนนิสจำนวนมากฝันว่าจะกลายเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ ชนะการแข่งขัน ชนะเลิศรายการสำคัญ ๆ สร้างให้พวกเขามีชื่อเสียงและมีรายได้มหาศาล แต่เวทีของการแข่งขันเทนนิสไม่ได้มีพื้นที่ให้ทุกคนลงแข่งขัน มันจึงมีระดับชั้นของเกมที่แตกต่างไป ในวงการเทนนิสอาชีพจะมีการแข่งขันที่แบ่งเป็น 3 กลุ่มจากการจัดการแข่งขัน ประกอบด้วยรายการของสมาพันธ์เทนนิสนานาชาติหรือ ITF, รายการของสมาคมนักเทนนิสอาชีพฝ่ายชายหรือ ATP และรายการของสมาคมนักเทนนิสอาชีพฝ่ายหญิงหรือ WTA ไอทีเอฟรับผิดชอบจัดการแข่งขันรายการใหญ่ที่สุดทั้ง 4 แกรนด์ สแลมคือออสเตรเลี่ยน โอเพ่น, เฟร้นช์ โอเพ่น, วิมเบิลดันและยูเอส โอเพ่น (ในการแข่งขันแกรนด์ สแลมนั้นมีคะแนนสะสมให้ผู้ชนะเลิศถึง 2000 คะแนนเลยทีเดียว) พร้อมกันนั้นก็จัดการแข่งขันประเภททีมที่มีทั้งทีมชาย (เดวิด คัพ) ทีมหญิง (เฟด คัพ) ทีมผสม (ฮอปแมน คัพ) และทีมรวมยุโรปพบรวมดาราโลก (เลเวอร์ คัพ) นอกจากนี้ก็จัดรายการเยาวชนที่เป็นอีเว้นต์เกรด A ในหลายประเทศทั้งที่อเมริกา, ญี่ปุ่น, บราซิล, ฝรั่งเศส เป็นต้น ถัดจากรายการของไอทีเอฟ เป็นการแข่งขันในทัวร์นาเม้นต์ทั้งชายและหญิงของ ATP และ WTA

ไทยแลนด์ โอเพ่น เกมระดับโลกหนึ่งเดียวของไทยที่หายไป

แม้การแข่งขันเทนนิสจะไม่ใช่กีฬายอดนิยมของคนไทย เมื่อเทียบกับมวยหรือฟุตบอล แต่ก็มีคนจำนวนหนึ่งให้ความสนใจเป็นพิเศษ จนกระทั่งถึงช่วงที่ภราดร ศรีชาพันธ์กลายเป็นผู้เล่นไทยคนแรกที่ติด 10 อันดับแรกของโลกได้ กระแสเทนนิสเมืองไทยก็พุ่งสุดตัว ทำให้เกิดแรงผลักดันครั้งใหญ่ในการจัดการแข่งขันเอาใจแฟนเทนนิสด้วยผู้เล่นระดับโลก รายการไทยแลนด์ โอเพ่นถือกำเนิดขึ้นในปี 2003 โดยไม่มีสนามแข่งขันที่เหมาะสมจะรองรับการแข่งนี้ ฝ่ายจัดในตอนนั้นเลยเลือกสร้างคอร์ทขึ้นมาในอิมแพ็ค อารีน่า ผู้เล่นอย่างโรเจอร์ เฟดเดอเร่อร์, แอนดี้ ร็อดดิกค์, แอนดี้ เมอเร่ย์, โนวัค โยโควิชหรืออย่างริชาร์ด กาสเก้ต์เคยได้มาโชว์ฝีมือที่เมืองไทย ระหว่างปี 2003-2013 ช่วงเวลาทองของวงการเทนนิสและรายการไทยแลนด์ โอเพ่นค่อย ๆ ตกต่ำลงพร้อมกับความซบเซาของวงการเทนนิสไทย ไม่มีผู้เล่นชั้นนำในวงการเทนนิสชายสานต่อยุคสมัยของภราดร ศรีชาพันธ์ ทำให้กระแสเทนนิสในเมืองไทยขาดสีสัน และในที่สุดหลังจบการแข่งขันในปี 2013 ก็มีการประกาศว่าลิขสิทธิ์การแข่งขันปีหน้าจะถูกยกให้เมืองเซินเจิ้นในประเทศจีนดำเนินการแทน หลังจากที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดการแข่งขันไทยแลนด์ โอเพ่นมานานปีในฐานะนายกสมาคมกีฬาเทนนิสและลอนเทนนิสแห่งประเทศไทย สุวัจน์ ลิปตพัลลภ เก็บความรู้สึกเสียดายไว้ตลอดเวลาเมื่อเห็นรายการที่เป็นหน้าเป็นตาหนึ่งเดียวของวงการเทนนิสไทยหลุดมือไป แต่เขาก็ยอมรับว่ากลไกทางการตลาดมีผลต่อความสำเร็จในการจัดการแข่งขัน ถ้าไม่มีนักกีฬาเทนนิสไทยลงสู้อย่างสูสี การมาเชียร์ก็ไม่มีความหมาย และการไม่มีนักกีฬาไทยก็คือการไม่มีจุดขายสำหรับแฟนเทนนิสไทยด้วย ผ่านไป 5 ปีกับการไร้เกมที่เรียกได้ว่าเป็นระดับโลก สุวัจน์ลงทุนธุรกิจในพื้นที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันหัวหินกลายเป็นเมืองที่ครบถ้วนองค์ประกอบของเมืองท่องเที่ยวและเมืองกีฬา พวกเขามีชายหาดยาว โรงแรมหรู ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และมีสปอร์ตคอมเพล็กซ์ชั้นดี

เฟด คัพ การแข่งขันเทนนิสผู้หญิงอันทรงเกียรติของโลก

ในแวดวงการกีฬาส่วนมากนักกีฬาที่ประสบผลสำเร็จและมีชื่อเสียงโด่งดังนั้น มักจะเป็นนักกีฬาผู้ชาย เพราะว่าในการแข่งขันกีฬาที่เป็นที่นิยมต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้สรีระร่างกายที่แข็งแรงหนักหน่วงในการแข่งขันกีฬา พร้อมทั้งยังต้องใช้ความอึดของร่างกายที่มากขึ้นกว่าเดิมในการทำให้ได้รับชัยชนะในแต่ละการแข่งขัน แต่สำหรับในกีฬาเทนนิสแล้วผู้หญิงสามารถที่จะใช้สรีระในการแข่งขันได้อย่างง่ายดาย พร้อมทั้งสามารถสร้างบันไดก้าวขึ้นไปเป็นนักกีฬาที่ยิ่งใหญ่ของโลกใบนี้ได้ในรายการแข่งขัน เฟเดอเรชั่น คัพ ศึกอันทรงเกียรติที่สุดของนักเทนนิสหญิง ในปี 1963 การแข่งขันกีฬาเทนนิสสำหรับผู้หญิงได้ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองงานครบรอบ 50 ปี สหพันธ์เทนนิสนานาชาติหรือไอทีเอฟในปีนั้น หลังจากนั้นทั้งนักกีฬาและผู้รับชมกีฬาได้ตอบรับและให้ความสนใจกับการแข่งขันกีฬาเทนนิสรายการนี้เป็นอย่างมาก พร้อมทั้งต้องการให้รายการนี้จัดการแข่งขันขึ้นอีกในครั้งต่อไป ดังนั้นทางสหพันธ์เทนนิสนานาชาติจึงได้จัดตั้งรายการแข่งขันที่มีชื่อว่า เฟเดอเรชัน คัพ ขึ้นมาเพื่อสานต่อแนวทางความนิยมในการแข่งขันกีฬาเทนนิสที่แข่งขันเฉพาะนักเทนนิสหญิงเท่านั้น ซึ่งความนิยมที่ได้รับในการแข่งขันรายการนี้ได้เพิ่มพูนมากขึ้นในทุก ๆ ปี จนกลายมาเป็นการแข่งขันกีฬาเทนนิสหญิงระดับนานาชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกที่มีนักกีฬาเทนนิสหญิงเข้าร่วมแข่งขันถึง 97 ชาติในปัจจุบัน รูปแบบของการแข่งขันรายการ เฟเดอเรชัน คัพ มีการเปลี่ยนแปลงหลายต่อหลายครั้งนับตั้งแต่ปี 1995 ที่ได้เปลี่ยนชื่อรายการแข่งขันมาเป็น เฟด คัพ เพื่อต้องการให้ชื่อรายการแข่งขันนั้นสั้นลง โดยรูปแบบการแข่งขันในปัจจุบันนั้นได้ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มการแข่งขัน พร้อมทั้งแข่งขันกันในแบบเหย้าและแบบเยือนเป็นระยะเวลา 3 อาทิตย์ ติดต่อกัน ซึ่งนักเทนนิสที่มีอายุน้อยที่สุดในรายการแข่งขันรายการนี้คือ เดนิส ปานาโกปูลู จากกรีซ ซึ่งลงเล่นด้วยวัยเพียงแค่ 12 ปี เท่านั้น ส่วนผู้เล่นที่อายุมากที่สุดคือ กิลล์ บัตเตอร์ฟิลด์

วิมเบิลดันการแข่งขันเทนนิสที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

อารยธรรมที่มีมาอย่างยาวนานหลายชั่วอายุคนและสามารถสืบสานมาจนถึงปัจจุบันได้นั้น มักเต็มเปี่ยมไปด้วยมนต์ขลังของความเร้าละมุนภายในจิตใจ พร้อมทั้งยังแฝงไปด้วยขนบประเพณี วัฒนธรรมของเรื่องราวถิ่นกำเนิดที่ได้เล่าขานต่อกันมาผ่านอารยธรรมเหล่านั้น ซึ่งเหมือนกับการแข่งขันกีฬาเทนนิสรายการวิมเบิลดัน ที่เป็นรายการเทนนิสที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและยังเป็นรายการที่เต็มไปด้วยกฎอารยะเก่าแก่ที่ยังใช้มาจนถึงปัจจุบัน วิมเบิลดัน คือชื่อของเมืองหนึ่งในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ที่เป็นสถานที่ตั้งของสนามแข่งขันเทนนิสแกรนด์แสลมที่ยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งชื่อของรายการการแข่งขันนั้นได้ถูกตั้งชื่อให้เหมือนกับเมืองที่ได้จัดตั้งนั้นว่าวิมเบิลดัน โดยได้จัดการแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1877 และเป็นการแข่งขันเทนนิสครั้งแรกของโลกอีกด้วย ซึ่งการแข่งขันวิมเบิลดันจะจัดการแข่งขึ้นในแกรนด์แสลมที่สามถัดจากออสเตรเลียโอเพนและเฟรนซ์โอเพน ในช่วงเดือนมิถุนายนไปจนถึงกรกฎาคมของทุกปี สำหรับสนามในการแข่งขันวิมเบิลดันนั้นจะใช้สนามแบบพื้นหญ้าในการแข่งขัน และเป็นรายการเดียวเท่านั้นในปัจจุบันที่ใช้สนามแบบพื้นหญ้าในการแข่งขัน เนื่องจากต้องการรักษาประเพณีการเล่นบนผืนหญ้าเอาไว้เหมือนกับในการเริ่มต้นการแข่งขันเทนนิสครั้งแรกที่สนาม ออล อิงแลนด์ คลับ ที่ซึ่งยังเป็นที่ตั้งของสมาคมเทนนิสของสหราชอาณาจักรอีกด้วย นอกจากนี้การแข่งขันวิมเบิลดันยังได้รักษาอารยะของประเพณีการแข่งขันจากในอดีตมาจนถึงปัจจุบันหลายอย่าง อาทิเช่น นักกีฬาต้องสวมชุดเทนนิสสีขาวในการแข่งขันเท่านั้น, บนบอร์ดการแข่งขันจะต้องใช้คำว่า Gentlemen และ Lady, การเรียกชื่อของนักกีฬาจะต้องใช้คำว่า Mr. และ Mrs. หรือ Miss,ในสนามจะไม่มีป้ายโฆษณาใด ๆ เลยยกเว้นนาฬิกาบอกเวลาการแข่งขันยี่ห้อ Rolex เท่านั้น และของหวานสตอร์เบอรี่ราดครีมประจำรายการแข่งขันที่เป็นสัญลักษณ์ของการแข่งขัน เป็นต้น และอีกหนึ่งเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของวิมเบิลดันก็คือ เซนเต็อร์คอร์ท ขนาดใหญ่ที่ถูกทาด้วยสีเขียวทั้งหลัง ซึ่งใช้เป็นสนามหลักในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศของชายเดี่ยวและหญิงเดี่ยว รายละเอียดจากอดีตส่งผ่านกาลเวลาก่อให้เกิดคำว่าตำนาน และรายการแข่งขันวิมเบิลดันนั้นเป็นรายการแข่งขันในตำนานที่มีเรื่องราวอยู่จริง โดยนักเทนนิสชายคนแรกที่ได้แชมป์ในรายการนี้คือ ร็อด เลเวอร์ จากประเทศออสเตรเลีย และนักเทนนิสหญิงที่ได้แชมป์คนแรกรายการนี้คือ บิลลี่ จีน คิง

ATP การแข่งขันเทนนิสที่มีความเร็วลูกสูงที่สุดในโลก

กีฬาเทนนิสได้ถูกคิดขึ้นในปี 1877 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยเป็นการแข่งขันกีฬาเก่าแก่ที่เรียกว่า วิมเบิลดัน ของสังคมชั้นสูงในสมัยนั้น และได้กลายมาเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา อีกทั้งเมื่อการเล่นเทนนิสกลายเป็นที่นิยมจนกระจายวิธีการเล่นไปสู่ทุกชนชั้นแล้ว จึงได้มีการจัดการแข่งขันแบบทัวร์นาเมนต์ครั้งแรกขึ้นมาในปี 1926 ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งในการจัดการแข่งขันครั้งนั้นเองได้ส่งผลทำให้การแข่งกีฬาเทนนิสพลิกพันตัวเองก้าวขึ้นไปสู่ความนิยมในกีฬาระดับนานาชาติ พร้อมทั้งได้พัฒนาให้กลายมาเป็นกีฬาระดับอาชีพ รวมถึงยังได้ถูกบรรจุในกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรก ในปี 1988 ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้อีกด้วย ATP หรือ Association of Tennis Professionals คือ สมาคมเทนนิสอาชีพที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1972 สำหรับการจัดการแข่งขันเทนนิสชายรายการใหญ่ในเวทียุโรปและอเมริกาเหนือ ในสนามที่มีความแตกต่างกัน 3 แบบ ซึ่งมีความแตกต่างกันกับการแข่งขัน 4 รายการใหญ่ของโลก หรือแกรนด์แสลมในจำนวนของนักเทนนิสที่มีการเข้าร่วมแข่งขันน้อยกว่า พร้อมทั้งจะไม่มีการแข่งขันบนพื้นหญ้า แต่จะมีการจัดการแข่งขันบนพื้นผิวพรมสังเคราะห์ ที่ทำให้การวิ่งของลูกเทนนิสมีอัตราความเร็วในการวิ่งของลูกสูงมากกว่าการแข่งขันในทุกรายการอื่น ๆ นอกจากนี้ในการแข่งขันรายการระดับเอทีพีจะมีคะแนนสะสมสูงกว่ารายการการแข่งขันทั่วไป แต่จะต่ำกว่า 4 รายการใหญ่ของแกรนด์แสลมและรายการแข่งขันมาสเตอร์คัพที่เป็นรายการท้ายสุดของทุกปี ปัจจุบันรายการแข่งขันของ ATP ประกอบไปด้วยการแข่งขันใน  5 ประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา, ฝรั่งเศส, เสปน, อิตาลี และเยอรมัน โดยมีการแข่งขันกันตั้งแต่เดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน

แกรนด์ แสลม สุดยอดรายการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกีฬาเทนนิส

รายการที่ยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความท้าทายที่ใหญ่ยิ่งของนักกีฬาทุกคน พร้อมทั้งยังเป็นสิ่งที่ซึ่งนักกีฬาทุกคนจะต้องไปให้ถึง หากอยากจะเป็นสุดยอดหรือที่หนึ่งในเชิงกีฬานั้น ๆ โดยในกีฬาเทนนิสมีรายการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ทุกคนต้องไปให้ถึงคือ แกรนด์ แสลม ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนกีฬาเทนนิสให้พัฒนาและเป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่องแบบไม่มีวันที่สิ้นสุด แกรนด์ แสลม คือการแข่งขันกีฬาเทนนิสรายการใหญ่ 4 รายการ โดยจะทำการแข่งขันกันใน 4 ประเทศที่มีอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ฝรั่งเศส อังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งยังมีพื้นสนามในการแข่งขันแตกต่างกันอีกด้วย ซึ่งในประเทศออสเตรเลียจะเป็นสถานที่แทนการแข่งขันในเขตฤดูร้อน ที่มีสนามการแข่งขันเป็นแบบพื้นปูน ส่วนในประเทศอังกฤษจะเป็นสถานที่แทนการแข่งขันในเขตของฤดูฝน ที่มีสนามการแข่งขันแบบพื้นหญ้า รวมถึงในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เป็นสถานที่แทนการแข่งขันในเขตฤดูหนาวที่มีสนามการแข่งขันแบบพื้นปูน และในประเทศฝรั่งเศสที่ได้เป็นตัวแทนการแข่งขันในเขตฤดูใบไม้ผลิ ที่มีสนามการแข่งขันแบบพื้นผิวดิน ทำให้รายการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ของเทนนิสมีการแข่งขันอยู่ในทุกฤดูกาลตลอดทั้งปี ในปี 1993 จอห์น คีราน นักเขียนของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ได้ใช้คำว่า แกรนด์ แสลม เป็นครั้งแรกในวงการเทนนิส จนกลายมาเป็นที่นิยมและสืบสานเรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยรายการที่เรียกว่า แกรนด์ แสลม ประกอบไปด้วย 4 รายการ คือ รายการออสเตรเลียโอเพน เฟรนช์โอเพ่น วิมเบิลดัน และยูเอสโอเพน ในทั้งสี่รายการจะใช้ระยะเวลาการแข่งขันทั้งหมด 14 วันในการแข่งขันแบบประเภทเดี่ยว ซึ่งการแข่งขันรายการ