ราชาคอร์ทดิน ราฟาเอล นาดาล

วงการเทนนิสปัจจุบันอาจจะหาคนที่เป็นราชาแห่งเทนนิสได้ยาก เพราะแต่ละคนต่างมีช่วงเวลาขึ้นและลง แต่ไม่ใช่กับคอร์ทดิน เมื่อความเป็นราชาของมันถูกสงวนไว้เพื่อราฟาเอล นาดาล สนามเทนนิสที่อัดด้วยดินฝุ่นสีแดงตัดด้วยเส้นสนามสีขาวของศึกเทนนิสเฟร้นช์ โอเพ่น รายการแกรนด์ สแลมสำคัญ ครั้งหนึ่งเลยสร้างราชาที่ชื่อว่าบียอร์น บอร์ก ด้วยผลงานการคว้าแชมป์เฟร้นช์ โอเพ่นติดกันถึง 5 สมัยจากจำนวน 6 สมัยที่เขาครองแชมป์ในระหว่างปี 70s ถึง 80s แค่ครองแชมป์และรักษาแชมป์ไว้ให้ได้ในแต่ละปีก็ยากแล้ว นั่นทำให้ใม่มีใครคิดหรอกว่าจะมีคนที่ก้าวข้ามความสำเร็จบนคอร์ทดินของบียอร์น บอร์กไปได้ จนกระทั่งกุสตาโว่ เคอร์เท่นคว้าแชมป์ได้สองสมัยติดต่อ ซึ่งเป็นสมัยที่สองและสามของเจ้าตัว ผู้คนก็เริ่มตั้งฉายาให้เขาว่าจะเป็นราชาคอร์ทดินคนใหม่ แต่เคอร์เท่นก็ทำได้แค่แชมป์บนคอร์ทดิน 5 สมัยเท่านั้น ก่อนที่โลกจะได้ยินเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่ชื่อราฟาเอล นาดาล มีนักเทนนิสที่เก่งมากบนคอร์ทดินชื่อกิลเยอร์โม่ คอเรีย ในการแข่งขันที่มอนติคาโร่ มาสเตอร์ปี 2005 คอเรียเข้าไปชิงชนะเลิศกับนาดาลที่เพิ่งทำลายสถิติชนะ 24 นัดรวดบนคอร์ทดินของอังเดร อากัสซี่ในรายการที่สเปนมาหมาด ๆ ปรากฏว่านาดาลปราบคอเรียได้แชมป์มาสเตอร์ครั้งแรก ผู้คนอาจจะคิดว่าเป็นแค่เรื่องบังเอิญ แต่นาดาลตามไปคว่ำคอเรียในนัดชิงศึกโรม มาสเตอร์ซ้ำ โลกรู้แล้วว่าเขาคือผู้ท้าทายคอร์ทดินตัวจริง วันเกิดปีที่ 19 ของนาดาล เขามีโปรแกรมลงแข่งขันในเฟร้นช์ โอเพ่น 2005 นาดาลพบคู่แข่งเบอร์หนึ่งของโลกที่ชื่อโรเจอร์ เฟดเดอเร่อร์

จากฟิวเจอร์ถึงแกรนด์ สแลม รายการเทนนิสแบ่งระดับอย่างไร?

การที่เทนนิสเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และสามารถพัฒนาเป็นอาชีพได้ ทำให้นักกีฬาเทนนิสจำนวนมากฝันว่าจะกลายเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ ชนะการแข่งขัน ชนะเลิศรายการสำคัญ ๆ สร้างให้พวกเขามีชื่อเสียงและมีรายได้มหาศาล แต่เวทีของการแข่งขันเทนนิสไม่ได้มีพื้นที่ให้ทุกคนลงแข่งขัน มันจึงมีระดับชั้นของเกมที่แตกต่างไป ในวงการเทนนิสอาชีพจะมีการแข่งขันที่แบ่งเป็น 3 กลุ่มจากการจัดการแข่งขัน ประกอบด้วยรายการของสมาพันธ์เทนนิสนานาชาติหรือ ITF, รายการของสมาคมนักเทนนิสอาชีพฝ่ายชายหรือ ATP และรายการของสมาคมนักเทนนิสอาชีพฝ่ายหญิงหรือ WTA ไอทีเอฟรับผิดชอบจัดการแข่งขันรายการใหญ่ที่สุดทั้ง 4 แกรนด์ สแลมคือออสเตรเลี่ยน โอเพ่น, เฟร้นช์ โอเพ่น, วิมเบิลดันและยูเอส โอเพ่น (ในการแข่งขันแกรนด์ สแลมนั้นมีคะแนนสะสมให้ผู้ชนะเลิศถึง 2000 คะแนนเลยทีเดียว) พร้อมกันนั้นก็จัดการแข่งขันประเภททีมที่มีทั้งทีมชาย (เดวิด คัพ) ทีมหญิง (เฟด คัพ) ทีมผสม (ฮอปแมน คัพ) และทีมรวมยุโรปพบรวมดาราโลก (เลเวอร์ คัพ) นอกจากนี้ก็จัดรายการเยาวชนที่เป็นอีเว้นต์เกรด A ในหลายประเทศทั้งที่อเมริกา, ญี่ปุ่น, บราซิล, ฝรั่งเศส เป็นต้น ถัดจากรายการของไอทีเอฟ เป็นการแข่งขันในทัวร์นาเม้นต์ทั้งชายและหญิงของ ATP และ WTA

ไวลด์ การ์ด บัตรผ่านสู่ด่านที่ยากและท้าทายกว่า

การแข่งขันเทนนิสเกือบทุกรายการหลักบนโลกใบนี้ ใช้หลักเกณฑ์ในการคัดผู้เข้าแข่งขันจากอันดับโลกประกอบ ยิ่งเป็นรายการเมนอีเวนต์ที่อยู่ระดับสูง มันยิ่งจำกัดจำนวนและโอกาสของนักเทนนิสให้มีเฉพาะคนที่เหมาะสมเท่านั้น แต่เพื่อให้เกิดการเปิดโอกาสสำหรับผู้เข้าแข่งขันที่ยังอยู่ไกลห่างจากอันดับที่ดีพอ รวมถึงเพื่อให้โอกาสแก่นักเทนนิสบางคนที่มีเหตุผลอันสมควร ในวงการเทนนิสจึงได้คิดค้นสิ่งที่เรียกว่า “ไวลด์การ์ด” ขึ้นมา ระบบไวลด์ การ์ดในวงการเทนนิสถูกนำมาใช้โดยสมาพันธ์เทนนิสนานาชาติหรือไอทีเอฟ แต่มันไม่ได้มีกฏตายตัว ขึ้นอยู่กับว่าทางสมาพันธ์เห็นชอบให้ส่งบัตรเชิญใครเข้าร่วม ซึ่งจากสถิติเกี่ยวการได้รับไวลด์การ์ดของนักกีฬาเทนนิสก็จะได้แก่ นักกีฬาของประเทศที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน หรือไม่ก็นักกีฬามีชื่อเสียงที่อันดับไม่ถึงเนื่องจากอาจจะมีอาการบาดเจ็บจนอันดับโลกตกหรือลงแข่งขันไม่ครบ หรือไม่ก็เป็นระดับท็อปของรุ่นเยาวชนที่อันดับโลกยังไม่ถึงก็ได้ ตัวอย่างเช่นสมาคมเทนนิสของอเมริกาที่กำหนดไวลด์การ์ดให้นักเทนนิสอเมริกันลงเล่นในรายการที่จัดในอเมริกา ทั้งยูเอส โอเพ่นและเซอร์กิตต่าง ๆ ว่าจะต้องมีสถิติในระดับมหาวิทยาลัย ระดับมือสมัครเล่นหรือไม่ก็เป็นนักกีฬาอาชีพที่อันดับโลกถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ซึ่งเรื่องนี้พวกเขาได้สร้างมาตรฐานไวลด์การ์ดไว้ทั้งรุ่นเยาวชนและรุ่นมืออาชีพเพื่อพัฒนานักกีฬา และมันก็คล้ายกับที่อังกฤษและออสเตรเลียใช้ในการแข่งขันที่พวกเขาเป็นเจ้าภาพ แต่ในแง่มุมหนึ่งเกี่ยวกับไวลด์การ์ดก็ถูกมองไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เพราะนิวยอร์กไทม์เคยตีพิมพ์บทความกระแซะเรื่องบัตรอภิสิทธิ์นี้ไว้ว่ามันเป็นการเกาหลังให้กันและกันหรือไม่ก็ความล้าหลังของลัทธิชนชั้นสูง ด้วยความที่นักเทนนิส ไวลด์การ์ดหลายคนส่วนใหญ่เป็นนักกีฬามืออันดับโลกค่อนข้างต่ำ ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จยาก อาจจะสร้างความฮือฮาได้แต่ก็ยากที่จะชนะเลิศการแข่งขัน ถึงอย่างนั้นก็มีตำนานในเรื่องนี้ เช่น โกรัน อิวานิเซวิช ชนะชายเดี่ยววิมเบิลดัน 2001 ด้วยการใช้สิทธิ์ไวลด์การ์ด เพราะตอนนั้นเขาเพิ่งหายจากการเจ็บไหล่ทำให้อันดับโลกหล่นไปที่ 125 ไม่พอเข้ารอบแต่แรก อีกอย่างเจ้าตัวเข้าถึงรอบชิงมาถึง 3 ครั้งก่อนหน้า หรือในปี 2009 คิม ไคลจ์เตอร์เพิ่งกลับจากการประกาศแขวนแร็คเก็ตในปี 2007 เพื่อทำหน้าที่ภรรยาและแม่ ตอนกลับมาเริ่มเล่นเทนนิสใหม่ เธอไม่มีอันดับโลกเพราะเพิ่งลงแข่งแค่ 2 รายการยังไม่สามารถติดอันดับโลกได้ ฝ่ายจัดยูเอส

หลี่ นา หัวใจมีไว้สู้กับคำคนหาว่าฟลุ๊ค

การที่นาน ๆ ทีจะมีนักเทนนิสจากฝั่งเอเชียประสบความสำเร็จได้ผ่านเข้ารอบลึก ๆ ในเวที ATP Tour หรือ WTA Tour สักคนแค่นั้นก็กลายเป็นข่าวใหญ่ข่าวโตได้แล้ว แต่หลี่ นา ทำสิ่งที่ยากยิ่งกว่าด้วยการคว้าแชมป์แกรนด์ สแลมมาครอบครอง มันเป็นความสำเร็จที่มาพร้อมความเจ็บปวดใจอย่างไม่น่าเป็นไปได้ ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1982 หลี่ นา ถือกำเนิดที่วูฮั่น มณฑลเหอเป่ย ในประเทศจีน พ่อกับแม่ของหลี่ นาเป็นนักกีฬาแบดมินตันทั้งคู่ ทำให้ทีแรกเธอเลือกเล่นแบดมินตันตามพ่อกับแม่ ก่อนจะเปลี่ยนไปเล่นเทนนิสตามคำสั่งของโค้ชในตอนอายุ 8 ขวบ ซึ่งการเรียนเทนนิสอย่างเข้มงวดในช่วงเด็กนี้เองที่กลายเป็นทั้งส่วนดีและส่วนเสียในชีวิต เธอกลายเป็นนักเทนนิสที่มีฝีมือและมีอนาคตแต่ขาดความมั่นใจในตัวเองอย่างที่สุด หลังได้โอกาสไปฝึกที่อเมริกานาน 10 เดือน ด้วยการสนับสนุนของบริษัทรองเท้ากีฬายักษ์ใหญ่อย่างไนกี้ หลี่ นากลับเมืองจีนและเริ่มต้นเทิร์นโปรในปี 1999 ด้วยวัยแค่ 16 ปี มีเรื่องน่าเห็นใจในช่วงที่เธออายุ 14 และลงทำการแข่งขัน แม่ของเธอปิดข่าวการเสียชีวิตของพ่ออยู่หลายสัปดาห์เพียงเพราะไม่อยากให้มันกระทบเกมที่เธอกำลังจะแข่ง หลี่ นาเผชิญสารพัดข่าวลือในตอนที่เธอประกาศถอนตัวจากทีมชาติจีนในปี 2002 เพื่อเริ่มต้นเรียนด้านสื่อสารมวลชนที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาลตร์และเทคโนโลยีหัวซ่ง ข่าวที่เกิดขึ้นมีทั้งเธอเรื่องความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมทีมชาติจีนที่ชื่อเจียง เฉิน (สามีในเวลาต่อมา) เรื่องที่รับการฝึกของโค้ชทีมชาติที่เข้มงวดมากไปไม่ได้ และก็ยังมีเรื่องที่ว่าเธออยากได้โค้ชส่วนตัว และในส่วนที่นิวยอร์คไทม์นำเสนอว่าเธอถอนตัวเพราะไม่อยากรับยาเพิ่มฮอร์โมน

เพื่อนมีปีก สมาชิกบินได้ของครอบครัววิมเบิลดัน

สนามแข่งขันของแกรนด์ สแลมอย่างวิมเบิลดันเป็นสถานที่ซึ่งมีคนมากมายมารวมกัน ตั้งแต่เริ่มต้นใช้งานเกมวิมเบิลดันในปี 1877 ก็มีจำนวนผู้คนเดินทางมายังสถานที่จัดการแข่งขันนี้จำนวนมาก แต่บางอย่างก็เพิ่มขึ้น มันคือนกพิราบที่มาอาศัยทำรังตามซอกมุมของอาคารทั่วพื้นที่เนื่องจากทุกวิมเบิลดันมีผู้คนมากขึ้น และอาหารเหลือจากเศษที่คนทิ้งไว้ก็มากตามด้วย สมาคมออล อิงแลนด์ ลอน เทนนิสและโครเก้ต์ คลับเลือกที่จะหาวิธีไล่นกพิราบไปไกล ๆ จากพื้นที่แข่งขันด้วยวิธีการธรรมชาติ และวิธีการที่พวกเขานึกออกคือใช้เหยี่ยวมาทำให้พวกนกพิราบกลัวและหนีไป รูฟัส เป็นเหยี่ยวสายพันธุ์จากแทบอเมริกากลางที่เรียกว่า Harris Hawk ถูกนำเข้ามายังเกาะอังกฤษในปี 2002 และมันได้ทำหน้าที่เคลียร์ท้องฟ้าเหนือเซ็นเตอร์ คอร์ทและพื้นที่ 49 เอเคอร์ของวิมเบิลดันให้ปราศจากนกพิราบรบกวนมาตั้งแต่ปี 2007 โดยตอนที่มันเข้ามารับงานเจ้าฮามิช เหยี่ยวอีกตัวกำลังจะปลดระวาง เกียรติประวัติของรูฟัสในการทำหน้าที่ของมันคือการคุมพื้นที่ท้องฟ้าวิมเบิลดันทุกปี รวมไปถึงการแข่งขันเทนนิสในกีฬาโอลิมปิกที่ลอนดอนเป็นเจ้าภาพด้วย ซึ่งด้วยหน้าที่นี้ทำให้มันกลายเป็นนกดังที่มีคนให้ความสนใจเยอะมาก และกลายเป็นเหตุให้มันโดนลักพาตัวในเดือนมิถุนายน 2102 ซึ่งปกติอิโมเจน เดวิส ผู้ดูแลของมันจะพามันกลับบ้านที่คอร์บี้ในนอร์ธแฮมเชียร์หลังหมดงาน แต่ช่วงดังกล่าวมันต้องประจำการที่ลอนดอน ทำให้สบโอกาสที่คนร้ายจะลักพาตัว ซึ่งกลายเป็นข่าวดังไปทั่วอังกฤษในฐานะนกที่คุณก็รู้ว่าใคร สามวันให้หลังมันถูกพบที่สวนเปิดที่เป็นเขตอนุรักษ์นกในวิมเบิลดันแบบมีอาการเจ็บขาเล็กน้อย ความฮิตและฮอตของรูฟัส ทำให้มันกลายเป็นเหยี่ยวที่มีทวิตเตอร์ส่วนตัวแถมมีคนติดตามมากถึง 5,000 คน และมันยังเป็นส่วนหนึ่งของงานเขียนระดับติดตลาดของเฮเลน แม็คโดนัลด์ ในชื่อหนังสือ “H is for Hawk” ที่นักเขียนหญิงบอกว่าระหว่างการเขียนเกี่ยวกับการฝึกเหยี่ยว มันช่วยให้เธอผ่านช่วงที่สูญเสียบิดาได้ เข้าสู่ปี

สถาบันเทนนิสที่เจ๋งที่สุดในโลก

การจะกลายเป็นนักเทนนิสที่เก่งและประสบความสำเร็จในวงการปัจจุบัน เหล่านักเทนนิสทั้งหลายที่โด่งดังในตอนนี้ส่วนใหญ่ถูกปูพิ้นฐานจากการเข้าคอร์สเรียนในอะคาเดมี่เทนนิสที่ใดที่หนึ่งบนโลก สถาบันเทนนิสเหล่านี้เองที่ได้สร้างนักกีฬาชั้นนำออกมาแข่งขันกัน พร้อมกันนั้นในทุกครั้งที่อดีตนักเรียนของพวกเขากลายเป็นนักเทนนิสมีชื่อ สถาบันก็ถูกยกย่องตามไปด้วย ในบรรดาสถาบันหรืออะคาเดมี่เทนนิสทั้งหลายบนโลก IMG Bollettieri Tennis Academy น่าจะเป็นเบอร์ท็อปที่สุด เพราะมันเป็นแหล่งสร้างนักกีฬาชั้นนำรวมไปถึงมืออันดับท็อปของโลกมากมาย นิค บอลเลตเตียรี่ โค้ชเทนนิสได้สานฝันของเขาด้วยการเปิดโรงเรียนสอนเทนนิสในปี 1978 ที่ฟลอริด้า หลังจากคิดค้นจนได้สิ่งที่เรียกว่าบอลเลตเตียรี่โปรแกรมซึ่งรวมทั้งเรื่องของเทคนิคสร้างนักกีฬาและการเรียนที่เข้มข้นเข้าด้วยกัน มันกลายเป็นแนวทางในการผลิตนักกีฬาเทนนิสที่มีบุคลิกยิ่งใหญ่หลาย ๆ คน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือชายชื่อ อังเดร อากัสซี่ นิคก่อตั้งโรงเรียนในชื่อ Nick Bollettieri Tennis Academy ในเบื้องต้นก่อนที่ IMG จะเข้ามาขอร่วมลงทุนและพัฒนาเป็นอะคาเดมี่ที่หลากหลายขึ้นใน 10 ปีให้หลัง โดยในปีที่ IMG เข้ามาร่วมมือด้วยนั้น มีนักเรียนหรือไม่ก็นักกีฬาที่ผ่านจากการสอนของนิคเข้ารอบวิมเบิลดันได้ถึง 32 คนในคราวเดียวกัน แนวคิดของบอลเลตเตียรี่ดูไกลห่างจากการเป็นนักธุรกิจมากนัก เมื่อเคยเผยใจว่าเจตจำนงค์ของเขานั้นเดิมทีมีเพียงการปั้นนักกีฬาให้ประสบความสำเร็จหรือเป็นแชมป์มากกว่าที่จะเป็นเรื่องเงินทอง บรรดารายชื่อผู้เล่นเบอร์ต้นของโลกที่ผ่านการเรียนรู้จากที่นี่ นอกจากอังเดร อากัสซี่ก็มีบอริส เบ็คเกอร์, โมนิก้า เซเลส, จิม คูเรียร์, ทอมมี่ ฮาสส์, มาเรีย ซาราโปว่าและสองพี่น้องเซเรน่ากับวีนัส วิลเลี่ยม

ตำนานลูกเทนนิส จากงานทำมือวันวานสู่ปีละ 325 ล้านลูก

ลูกเทนนิสถูกผลิตขึ้นครั้งแรก ๆ ตั้งแต่ช่วง 1870s เพื่อใช้เป็นเกมเล่นในวังของพวกผู้ดีและชาวสังคมชั้นสูง ซึ่งตั้งแต่เดิมการเล่นเทนนิสก็ไม่แตกต่างจากปัจจุบันที่มีเล่นทั้ง 2 คนและ 4 คน แต่สิ่งที่เป็นเรียล เทนนิส บอลคือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปมากที่สุดในบรรดาองค์ประกอบของเทนนิสทั้งหมด ในช่วงทศวรรษ 1850s ชาร์ลส์ กู๊ดเยียร์ นักประดิษฐ์ชาวเยอรมันได้ค้นพบกระบวนการหลอมเหลวน้ำยางจากอินเดียเป็นรูปกลมและอัดอากาศไว้ภายใน ตอนนั้นคงไม่มีใครคิดว่ามันจะกลายมาเป็นลูกเทนนิสเพราะมันเป็นเพียงลูกบอลยางกลมโล้น ๆ น้ำหนักเบาสีเทาหรือแดง ซึ่งต่อมาในปี 1870s วอลเตอร์ คล็อปตั้น วิงก์ฟิลด์กับเฮนรี่ เจมส์เป็นคนเอาเทคโนโลยีนี้เข้ามาอังกฤษ พวกเขาตั้งใจจะเอามาใช้สำหรับเล่นโครเก้ต์เท่านั้นเอง แต่มันก็ถูกเอามาตีเล่นสำหรับเทนนิสด้วย ในเวลาต่อมาก็ได้จอห์น เมเยอร์ ฮีทโค้ตที่แนะนำว่าน่าจะหาอะไรห่อมันซักหน่อย อาจจะผ้าแฟลนเนล ซึ่งวิงก์ฟิลด์ก็รับเอาแนวคิดนี้และทำมันออกมาเป็นผลสำเร็จในปี 1882 โดยมันถูกผลิตขึ้นที่ Melton Mowbray หลังผ่านการคิดค้นหาสารพัดของที่จะเอามาหุ้มยางที่เป็นแกนข้างในซึ่งบรรจุก๊าซเอาไว้ ในที่สุดรูปทรงพื้นฐานของลูกเทนนิสก็ถูกดีไซน์ออกมาในฟอร์มของใบโครฟเวอร์ 3 กลีบ จากนั้นใช้เครื่องมือประกอบมันขึ้นเป็นรูปทรงกลม ประสานรอยต่อด้วยน้ำยาเคมีและความร้อนกลายเป็นตะเข็บยาง พร้อมทั้งอัดอากาศไว้ข้างใน  และมันมีสีขาวทั้งลูก ทว่ามันจะเสียคุณสมบัติในการกระเด้งกระดอนทันทีที่มันมีรอยเปิดฉีก ลูกเทนนิสมีการพัฒนามาเรื่อย ๆ มันถูกทำให้เริ่มมีสีสันด้วยการใช้ผ้าสีแดงและเหลืองในการห่อหุ้ม พร้อมกำหนดมาตรฐานสำหรับการเล่นโดยยึดเรื่องของความเร็วเป็นหลัก หลังผ่านมาเกือบ 100 ปี สมาพันธ์เทนนิสโลกหรือ

นักเทนนิสหญิงคนดัง ใครยิ่งใหญ่กว่ากัน

วงการเทนนิส WTA มีนักกีฬาเทนนิสหญิงระดับสุดยอดหลายคน แต่ถ้าจะถูกยกมาเทียบกันมากที่สุดจะมีสามรายชื่อนี้เสมอ สเตฟี่ กราฟ, มาร์ติน่า นาฟราติโลว่าและเซเรน่า วิลเลี่ยม แต่ใครคือเบอร์ 1 ที่แท้จริง เป็นข้อถกเถียงเสมอทุกครั้งที่มีการจัดอันดับว่าใครควรเป็นผู้หญิงที่เก่งที่สุดในวงการเทนนิสโลก แทบทุกครั้งที่มีการจัดอันดับไม่ว่าจะ 100 นักเทนนิสหญิงที่เก่งที่สุดหรือจะ 10 นักเทนนิสหญิงที่เก่งที่สุด มันจะตามมาด้วยข้อโต้แย้งและถกเถียงถึงหลักการในการเลือกเสมอไป ล่าสุดสื่ออย่าง MSN ยกเซเรน่า วิลเลี่ยมขึ้นที่ 1 ตามด้วยสเตฟี่ กราฟและนาฟราติโลว่า ขณะที่เว็บรับผลโหวตเบอร์ต้นอย่าง Ranking.com ผู้คนต่างโหวตให้สเตฟี่ กราฟเหนือกว่าเซเรน่า โดยมีนาฟราติโลว่าตามมาในอันดับ 3 ผลงานการคว้าแชมป์ของทั้งหมดมักถูกเทียบด้วยการคว้าแชมป์แกรนด์ สแลม หากดูตามสถิติ สเตฟี่ กราฟได้แชมป์ที่ออสเตรเลีย 4 ครั้งจากการเข้าชิง 5 ครั้ง ที่เฟร้นช์ โอเฟ่นได้แชมป์ 6 ครั้งจากการชิง 9 ครั้ง เกมที่วิมเบิลดันคว้าแชมป์ 7 ครั้งจากการชิง 9 ครั้ง และยูเอส โอเพ่นที่เป็นแชมป์ 5

ไทยแลนด์ โอเพ่น เกมระดับโลกหนึ่งเดียวของไทยที่หายไป

แม้การแข่งขันเทนนิสจะไม่ใช่กีฬายอดนิยมของคนไทย เมื่อเทียบกับมวยหรือฟุตบอล แต่ก็มีคนจำนวนหนึ่งให้ความสนใจเป็นพิเศษ จนกระทั่งถึงช่วงที่ภราดร ศรีชาพันธ์กลายเป็นผู้เล่นไทยคนแรกที่ติด 10 อันดับแรกของโลกได้ กระแสเทนนิสเมืองไทยก็พุ่งสุดตัว ทำให้เกิดแรงผลักดันครั้งใหญ่ในการจัดการแข่งขันเอาใจแฟนเทนนิสด้วยผู้เล่นระดับโลก รายการไทยแลนด์ โอเพ่นถือกำเนิดขึ้นในปี 2003 โดยไม่มีสนามแข่งขันที่เหมาะสมจะรองรับการแข่งนี้ ฝ่ายจัดในตอนนั้นเลยเลือกสร้างคอร์ทขึ้นมาในอิมแพ็ค อารีน่า ผู้เล่นอย่างโรเจอร์ เฟดเดอเร่อร์, แอนดี้ ร็อดดิกค์, แอนดี้ เมอเร่ย์, โนวัค โยโควิชหรืออย่างริชาร์ด กาสเก้ต์เคยได้มาโชว์ฝีมือที่เมืองไทย ระหว่างปี 2003-2013 ช่วงเวลาทองของวงการเทนนิสและรายการไทยแลนด์ โอเพ่นค่อย ๆ ตกต่ำลงพร้อมกับความซบเซาของวงการเทนนิสไทย ไม่มีผู้เล่นชั้นนำในวงการเทนนิสชายสานต่อยุคสมัยของภราดร ศรีชาพันธ์ ทำให้กระแสเทนนิสในเมืองไทยขาดสีสัน และในที่สุดหลังจบการแข่งขันในปี 2013 ก็มีการประกาศว่าลิขสิทธิ์การแข่งขันปีหน้าจะถูกยกให้เมืองเซินเจิ้นในประเทศจีนดำเนินการแทน หลังจากที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดการแข่งขันไทยแลนด์ โอเพ่นมานานปีในฐานะนายกสมาคมกีฬาเทนนิสและลอนเทนนิสแห่งประเทศไทย สุวัจน์ ลิปตพัลลภ เก็บความรู้สึกเสียดายไว้ตลอดเวลาเมื่อเห็นรายการที่เป็นหน้าเป็นตาหนึ่งเดียวของวงการเทนนิสไทยหลุดมือไป แต่เขาก็ยอมรับว่ากลไกทางการตลาดมีผลต่อความสำเร็จในการจัดการแข่งขัน ถ้าไม่มีนักกีฬาเทนนิสไทยลงสู้อย่างสูสี การมาเชียร์ก็ไม่มีความหมาย และการไม่มีนักกีฬาไทยก็คือการไม่มีจุดขายสำหรับแฟนเทนนิสไทยด้วย ผ่านไป 5 ปีกับการไร้เกมที่เรียกได้ว่าเป็นระดับโลก สุวัจน์ลงทุนธุรกิจในพื้นที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันหัวหินกลายเป็นเมืองที่ครบถ้วนองค์ประกอบของเมืองท่องเที่ยวและเมืองกีฬา พวกเขามีชายหาดยาว โรงแรมหรู ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และมีสปอร์ตคอมเพล็กซ์ชั้นดี

อเล็กซานเดอร์ ซเวเรฟ หนุ่มน้อยผู้จะท้าทายแกรนด์สแลม

แกรนด์สแลม ศึกเทนนิสรายการใหญ่สุดทั้ง 4 ของวงการเทนนิสโลกที่นักเทนนิสทุกคนอยากได้แชมป์มาประดับเป็นเกียรติประวัติทั้งนั้น แต่มันไม่ง่ายเพราะแกรนด์สแลมคือเวทีรวมเสือสิงห์กระทิงแรดชั้นแนวหน้าของวงการเท่านั้น และหนึ่งในนั้นต้องมี “อเล็กซานเดอร์ ซเวเรฟ” ดาวรุ่งเยอรมันเชื้อสายรัสเซียสร้างปรากฏการณ์ฤดูกาล 2018 ที่น่าประทับใจ ตอนอายุแค่ 14 ปีซเวเรฟผ่านควอลิฟายด์ลงเล่นรายการ ATP 2011 ถึง 3 รายการแต่ก็แพ้ไปทั้งหมด พอปีต่อมาเขาเน้นเกมระดับจูเนียร์อีกครั้ง และได้เข้าถึงนัดชิงชนะเลิศครั้งแรกในชีวิตในปลายปี 2012 สองปีต่อมาหลังคว้าแชมป์ชายเดี่ยวรุ่นเยาวชนในศึกออสเตรเลี่ยนโอเพ่น และคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เขาจะโฟกัสเกมระดับอาชีพเสียที แต่ว่าตลอด 5 อีเว้นท์แรกของปี 2014 ซเวเรฟร่วงไม่เป็นท่า ไม่สามารถผ่านควอลิฟายด์เข้ารอบเมนดรอว์รายการใดใดได้เลย แถมกว่าจะตั้งหลักได้ก็ปาเข้าไปอีเว้นท์ที่ 10 ของปีแล้ว ซึ่งเขาคว้าแชมป์บรุนชวิก ชาลเลนจ์ด้วยการปราบผู้เล่นมืออันดับสูงกว่า 100 ได้สามคนรวด ซเวเรฟมีกราฟการเล่นพุ่งขึ้นหลังจากได้แชมป์แรกในชีวิต เขาเอาชนะการแข่งขันในรายการ ATP ที่ยังไม่เคยชนะได้ซักเกม แถมยังทะลุเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศอินเตอร์เนชั่นแนล เยอรมัน โอเพ่น 2014 ด้วย ซเวเรฟเก็บชัยชนะครั้งแรกในระดับอาชีพด้วยการเอาชนะโรบิ้น ฮาสส์ ตามด้วยคว่ำมือ 16 มิคาอิล ยูซนี่ และไปแพ้ให้กับเดวิด เฟร์เร มืออันดับ