5 ของกินที่เป็นสัญลักษณ์ของวิมเบิลดัน

เทนนิสวิมเบิลดันถือเป็นรายการเก่าแก่และเต็มไปด้วยธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดต่อกันมานาน ในสายตาแฟนเทนนิสที่มองวิมเบิลดันเป็นหนึ่งความบันเทิงใจ พวกเขาพร้อมที่จะลงตารางเวลาเพื่อไปดื่มด่ำความสุขจากเกมการแข่งขันแต่ละปีอย่างไม่เสียดาย การเข้าชมเทนนิสที่ยิ่งใหญ่ที่สุดรายการหนึ่งของโลก นอกจากความบันเทิงจากการแข่งขัน เรื่องของกินก็ดูเหมือนจะเป็นหนึ่งสิ่งที่แฟนเทนนิสไม่ควรพลาด และนี่คือ 5 ของกินที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของเทนนิสวิมเบิลดันโดยแท้ 1. สตรอเบอร์รี่และครีม นี่คือเมนูคลาสสิคและเบสิคที่สุดที่จะต้องหาทานให้ได้เมื่อมาร่วมชมศึกเทนนิสวิมเบิลดัน ด้วยสตรอเบอร์รี่สดๆ ลูกโตๆ ที่เสิร์ฟพร้อมกับครีมสดเต็มถ้วย มันคือของกินง่ายๆ แต่อร่อยมากสำหรับช่วงเวลาที่วิมเบิลดัน 2. พิ้มม์คัพ (Pimm’s Cup) ถ้าจะมองหาเครื่องดื่มที่เป็นของคู่การแข่งขันล่ะก็ต้องยกให้เจ้านี่ ด้วยความที่เป็นเครื่องดื่มที่ถูกยกเป็นอันดับหนึ่งของช่วงซัมเมอร์ที่เกาะอังกฤษ มันจึงกลายเป็นเครื่องดื่มหลักอย่างไม่เป็นทางการของวิมเบิลดันไปเลย ส่วนผสมก็มาจากเหล้าที่ชื่อพิ้มพ์ผสมน้ำมะนาวหรือน้ำมะนาวโซดา แล้วเครื่องแต่งรสชาติที่มีใบมิ้นต์, สตรอเบอร์รี่สดฝาน, แตงกวาสไลด์และส้มสดสไลด์ มันถูกขายมากกว่า 80,000 แก้วทุกปีระหว่างช่วงแข่งขัน 3. แชมเปญ เป็นเครื่องดื่มที่ถูกสั่งมากที่สุดอีกหนึ่งอย่างในช่วงเวลาของวิมเบิลดัน โดยแต่ละปีมีการจำหน่ายไปมากกว่า 25,000 ขวด ซึ่งสำหรับชาวต่างชาติแล้ว การดื่มแชมเปญก็เพื่อความผ่อนคลายไม่ใช่เพื่อความเมามาย 4. ชายามบ่ายและแซนด์วิช การดื่มชายามบ่ายซึ่งเป็นช่วงเบรกของการแข่งขัน มันคือธรรมเนียมปฏิบัติของชาวอังกฤษมาแต่ไหนแต่ไร ซึ่งเมื่อวิมเบิลดันคือการแข่งขันสำคัญในเกาะอังกฤษ การดื่มชายามบ่ายก็กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของแฟนเทนนิสไปด้วย พวกเขาจะสั่งชาร้อนเสิร์ฟพร้อมแซนด์วิชหรือขนมปัง คุกกี้ครีมสด หรืออาจจะมีแชมเปญประกอบมาในเซตด้วยก็ได้ 5. ฟิชแอนด์ชิพ ปลาชุบแป้งทอดและมันฝรั่งทอดคือเมนูที่ถูกยกเป็นอาหารสามัญของชาวอังกฤษ ด้วยความที่มันทำง่ายและเหมาะที่จะทานร้อนๆ ท่ามกลางเวลาที่ค่อนข่างเร่งด่วนระหว่างรอชมเกมการแข่งขัน เมื่อถึงเทศกาลวิมเบิลดัน ฟิชแอนด์ชิพก็คืออาหารจากหลักเบอร์หนึ่งที่ทุกคนไม่พลาด

เพื่อนมีปีก สมาชิกบินได้ของครอบครัววิมเบิลดัน

สนามแข่งขันของแกรนด์ สแลมอย่างวิมเบิลดันเป็นสถานที่ซึ่งมีคนมากมายมารวมกัน ตั้งแต่เริ่มต้นใช้งานเกมวิมเบิลดันในปี 1877 ก็มีจำนวนผู้คนเดินทางมายังสถานที่จัดการแข่งขันนี้จำนวนมาก แต่บางอย่างก็เพิ่มขึ้น มันคือนกพิราบที่มาอาศัยทำรังตามซอกมุมของอาคารทั่วพื้นที่เนื่องจากทุกวิมเบิลดันมีผู้คนมากขึ้น และอาหารเหลือจากเศษที่คนทิ้งไว้ก็มากตามด้วย สมาคมออล อิงแลนด์ ลอน เทนนิสและโครเก้ต์ คลับเลือกที่จะหาวิธีไล่นกพิราบไปไกล ๆ จากพื้นที่แข่งขันด้วยวิธีการธรรมชาติ และวิธีการที่พวกเขานึกออกคือใช้เหยี่ยวมาทำให้พวกนกพิราบกลัวและหนีไป รูฟัส เป็นเหยี่ยวสายพันธุ์จากแทบอเมริกากลางที่เรียกว่า Harris Hawk ถูกนำเข้ามายังเกาะอังกฤษในปี 2002 และมันได้ทำหน้าที่เคลียร์ท้องฟ้าเหนือเซ็นเตอร์ คอร์ทและพื้นที่ 49 เอเคอร์ของวิมเบิลดันให้ปราศจากนกพิราบรบกวนมาตั้งแต่ปี 2007 โดยตอนที่มันเข้ามารับงานเจ้าฮามิช เหยี่ยวอีกตัวกำลังจะปลดระวาง เกียรติประวัติของรูฟัสในการทำหน้าที่ของมันคือการคุมพื้นที่ท้องฟ้าวิมเบิลดันทุกปี รวมไปถึงการแข่งขันเทนนิสในกีฬาโอลิมปิกที่ลอนดอนเป็นเจ้าภาพด้วย ซึ่งด้วยหน้าที่นี้ทำให้มันกลายเป็นนกดังที่มีคนให้ความสนใจเยอะมาก และกลายเป็นเหตุให้มันโดนลักพาตัวในเดือนมิถุนายน 2102 ซึ่งปกติอิโมเจน เดวิส ผู้ดูแลของมันจะพามันกลับบ้านที่คอร์บี้ในนอร์ธแฮมเชียร์หลังหมดงาน แต่ช่วงดังกล่าวมันต้องประจำการที่ลอนดอน ทำให้สบโอกาสที่คนร้ายจะลักพาตัว ซึ่งกลายเป็นข่าวดังไปทั่วอังกฤษในฐานะนกที่คุณก็รู้ว่าใคร สามวันให้หลังมันถูกพบที่สวนเปิดที่เป็นเขตอนุรักษ์นกในวิมเบิลดันแบบมีอาการเจ็บขาเล็กน้อย ความฮิตและฮอตของรูฟัส ทำให้มันกลายเป็นเหยี่ยวที่มีทวิตเตอร์ส่วนตัวแถมมีคนติดตามมากถึง 5,000 คน และมันยังเป็นส่วนหนึ่งของงานเขียนระดับติดตลาดของเฮเลน แม็คโดนัลด์ ในชื่อหนังสือ “H is for Hawk” ที่นักเขียนหญิงบอกว่าระหว่างการเขียนเกี่ยวกับการฝึกเหยี่ยว มันช่วยให้เธอผ่านช่วงที่สูญเสียบิดาได้ เข้าสู่ปี

วิมเบิลดันการแข่งขันเทนนิสที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

อารยธรรมที่มีมาอย่างยาวนานหลายชั่วอายุคนและสามารถสืบสานมาจนถึงปัจจุบันได้นั้น มักเต็มเปี่ยมไปด้วยมนต์ขลังของความเร้าละมุนภายในจิตใจ พร้อมทั้งยังแฝงไปด้วยขนบประเพณี วัฒนธรรมของเรื่องราวถิ่นกำเนิดที่ได้เล่าขานต่อกันมาผ่านอารยธรรมเหล่านั้น ซึ่งเหมือนกับการแข่งขันกีฬาเทนนิสรายการวิมเบิลดัน ที่เป็นรายการเทนนิสที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและยังเป็นรายการที่เต็มไปด้วยกฎอารยะเก่าแก่ที่ยังใช้มาจนถึงปัจจุบัน วิมเบิลดัน คือชื่อของเมืองหนึ่งในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ที่เป็นสถานที่ตั้งของสนามแข่งขันเทนนิสแกรนด์แสลมที่ยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งชื่อของรายการการแข่งขันนั้นได้ถูกตั้งชื่อให้เหมือนกับเมืองที่ได้จัดตั้งนั้นว่าวิมเบิลดัน โดยได้จัดการแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1877 และเป็นการแข่งขันเทนนิสครั้งแรกของโลกอีกด้วย ซึ่งการแข่งขันวิมเบิลดันจะจัดการแข่งขึ้นในแกรนด์แสลมที่สามถัดจากออสเตรเลียโอเพนและเฟรนซ์โอเพน ในช่วงเดือนมิถุนายนไปจนถึงกรกฎาคมของทุกปี สำหรับสนามในการแข่งขันวิมเบิลดันนั้นจะใช้สนามแบบพื้นหญ้าในการแข่งขัน และเป็นรายการเดียวเท่านั้นในปัจจุบันที่ใช้สนามแบบพื้นหญ้าในการแข่งขัน เนื่องจากต้องการรักษาประเพณีการเล่นบนผืนหญ้าเอาไว้เหมือนกับในการเริ่มต้นการแข่งขันเทนนิสครั้งแรกที่สนาม ออล อิงแลนด์ คลับ ที่ซึ่งยังเป็นที่ตั้งของสมาคมเทนนิสของสหราชอาณาจักรอีกด้วย นอกจากนี้การแข่งขันวิมเบิลดันยังได้รักษาอารยะของประเพณีการแข่งขันจากในอดีตมาจนถึงปัจจุบันหลายอย่าง อาทิเช่น นักกีฬาต้องสวมชุดเทนนิสสีขาวในการแข่งขันเท่านั้น, บนบอร์ดการแข่งขันจะต้องใช้คำว่า Gentlemen และ Lady, การเรียกชื่อของนักกีฬาจะต้องใช้คำว่า Mr. และ Mrs. หรือ Miss,ในสนามจะไม่มีป้ายโฆษณาใด ๆ เลยยกเว้นนาฬิกาบอกเวลาการแข่งขันยี่ห้อ Rolex เท่านั้น และของหวานสตอร์เบอรี่ราดครีมประจำรายการแข่งขันที่เป็นสัญลักษณ์ของการแข่งขัน เป็นต้น และอีกหนึ่งเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของวิมเบิลดันก็คือ เซนเต็อร์คอร์ท ขนาดใหญ่ที่ถูกทาด้วยสีเขียวทั้งหลัง ซึ่งใช้เป็นสนามหลักในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศของชายเดี่ยวและหญิงเดี่ยว รายละเอียดจากอดีตส่งผ่านกาลเวลาก่อให้เกิดคำว่าตำนาน และรายการแข่งขันวิมเบิลดันนั้นเป็นรายการแข่งขันในตำนานที่มีเรื่องราวอยู่จริง โดยนักเทนนิสชายคนแรกที่ได้แชมป์ในรายการนี้คือ ร็อด เลเวอร์ จากประเทศออสเตรเลีย และนักเทนนิสหญิงที่ได้แชมป์คนแรกรายการนี้คือ บิลลี่ จีน คิง