ความคิดผิด ๆ ส่วนใหญ่ที่มีกับกีฬาเทนนิส

กีฬาเทนนิสในสายตาของหลายคนอาจจะมองว่าเป็นกีฬาที่ต้องมีทุนทรัพย์มากสักนิด เพราะอุปกรณ์ที่ใช้ สนามแข่ง เครื่องแต่งกาย ล้วนเป็นเรื่องที่มีราคาค่อนข้างสูงกว่ากีฬาทั่วไปอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นไม้เทนนิสที่มีราคาเริ่มต้นจากหลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่น เครื่องแต่งกายที่มีราคาหลักพัน หรือแม้แต่ค่าเรียน ค่าสนามที่ใช้ฝึกซ้อม เป็นเรื่องที่ต้องมีทุนทรัพย์สักนิดในการฝึกซ้อม แต่หากสนใจกีฬาชนิดนี้จริงแล้วก็มีอีกหลายขั้นตอนที่ช่วยให้เราฝึกกีฬาชนิดนี้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีเยอะอย่างที่คิด การเริ่มต้นเล่นเทนนิสควรเป็นอย่างไร หากว่าเราสนใจในกีฬาชนิดนี้และต้องการจะฝึกฝนและมุ่งมั่นอยากฝึกเพื่อเป็นสายอาชีพในอนาคต สิ่งที่เราควรเริ่มต้นคือการมองหาไม้เทนนิสที่ถนัดมือสักชิ้น ซึ่งก็ไม่ยากที่จะมองหาในราคาย่อมเยา อาจจะดูจากไม้เทนนิสมือสองหรือร้านที่ขายใช้ราคาหลักร้อยตามกำลัง แล้วค่อยพัฒนาไปเรื่อย ๆ ตามการฝึกฝนของเรา สำหรับลูกเทนนิสราคาไม่สูงนัก ส่วนเรื่องเครื่องแต่งกายก็ไม่ไม่ยุ่งยากมีแบบไหนใส่แบบนั้นไปก่อนเลย หากต้องการความสบายและคล่องตัวเราค่อยพัฒนาไปพร้อมกับการฝึกของเรา ตาข่ายสำหรับขึงตีเทนนิสก็มีให้เลือกมากมาย บางครั้งถ้าเราต้องฝึกฝนเองเราอาจจะใช้อุปกรณ์ที่พอมีในบ้านไปก่อนไม่จำเป็นต้องเป็นตาข่ายจริง สนามที่ใช้ฝึกฝนหากมีพื้นที่เหลือหน้าบ้านหรือมีบริเวณบ้านพอที่จะฝึกเล่นได้ก็อาจจะลองฝึกที่บ้านดูก่อน ในการฝึกหรือถ้าต้องการฝึกโดยเช่าสนามก็มีให้บริการหลายแห่ง ราคาก็แล้วแต่สถานที่นั้น ๆ โดยส่วนใหญ่คิดเป็นชั่วโมงราคาแค่หลักร้อย ซึ่งปัจจุบันสนามฝึกเทนนิสมีอยู่เยอะมากโดยเฉพาะในกรุงเทพเองสามารถหาที่ฝึกซ้อมได้ไม่ยากประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวกก็มีพร้อม ทั้งล็อคเกอร์ ที่อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า ห้องน้ำที่สะอาด มีพร้อมไว้บริการสะดวกสบาย อีกสิ่งหนึ่งที่ควรรู้คือ มารยาทในการเล่นกีฬาเทนนิสซึ่งมีมายาวนานหลายปี ทุกการแข่งขันจะเห็นว่า มีการจับมือกันทุกครั้งทั้งก่อนเริ่มแข่งและหลังแข่งเสร็จ การแต่งกายที่เรียบร้อยถูกต้องก็นเป็นส่วนหนึ่งในมารยาทการเล่น การรู้จักขอโทษ ให้เกียรติ แสดงความยินดีกับฝ่ายผู้ชนะก็ถือเป็นมารยาทที่สำคัญ การไม่ขัดขวางการเล่น และการไม่ส่งเสียงดังจนเกินไปก็เป็นสิ่งสำคัญด้วย วิธีการฝึกซ้อมด้วยตัวเอง เทคนิคการเล่นเทนนิสด้วยตัวเองซึ่งอาจจะช่วยให้เราสามารถเล่นเทนนิสได้ดีขึ้นเช่น การจัดระเบียบร่างกายของเราในขณะที่จะเริ่มเสิร์ฟ ย่อเข่าเล็กน้อยพร้อมกับดูข้อมือขณะกำลังเสิร์ฟ ในส่วนของร่างกายให้พยายามอยู่ในท่าที่ไม่เกร็ง ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ส่วนขาให้ยืนอย่างมั่นคง ไม่ฝืน การเคลื่อนที่ของเท้าก็สำคัญ ซึ่งต้องขยับเคลื่อนที่ไปตามร่างกายไม่ฝืนหรือเกร็งจนทำให้การขยับตัวไม่เป็นไปตามธรรมชาติ

ไวลด์ การ์ด บัตรผ่านสู่ด่านที่ยากและท้าทายกว่า

การแข่งขันเทนนิสเกือบทุกรายการหลักบนโลกใบนี้ ใช้หลักเกณฑ์ในการคัดผู้เข้าแข่งขันจากอันดับโลกประกอบ ยิ่งเป็นรายการเมนอีเวนต์ที่อยู่ระดับสูง มันยิ่งจำกัดจำนวนและโอกาสของนักเทนนิสให้มีเฉพาะคนที่เหมาะสมเท่านั้น แต่เพื่อให้เกิดการเปิดโอกาสสำหรับผู้เข้าแข่งขันที่ยังอยู่ไกลห่างจากอันดับที่ดีพอ รวมถึงเพื่อให้โอกาสแก่นักเทนนิสบางคนที่มีเหตุผลอันสมควร ในวงการเทนนิสจึงได้คิดค้นสิ่งที่เรียกว่า “ไวลด์การ์ด” ขึ้นมา ระบบไวลด์ การ์ดในวงการเทนนิสถูกนำมาใช้โดยสมาพันธ์เทนนิสนานาชาติหรือไอทีเอฟ แต่มันไม่ได้มีกฏตายตัว ขึ้นอยู่กับว่าทางสมาพันธ์เห็นชอบให้ส่งบัตรเชิญใครเข้าร่วม ซึ่งจากสถิติเกี่ยวการได้รับไวลด์การ์ดของนักกีฬาเทนนิสก็จะได้แก่ นักกีฬาของประเทศที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน หรือไม่ก็นักกีฬามีชื่อเสียงที่อันดับไม่ถึงเนื่องจากอาจจะมีอาการบาดเจ็บจนอันดับโลกตกหรือลงแข่งขันไม่ครบ หรือไม่ก็เป็นระดับท็อปของรุ่นเยาวชนที่อันดับโลกยังไม่ถึงก็ได้ ตัวอย่างเช่นสมาคมเทนนิสของอเมริกาที่กำหนดไวลด์การ์ดให้นักเทนนิสอเมริกันลงเล่นในรายการที่จัดในอเมริกา ทั้งยูเอส โอเพ่นและเซอร์กิตต่าง ๆ ว่าจะต้องมีสถิติในระดับมหาวิทยาลัย ระดับมือสมัครเล่นหรือไม่ก็เป็นนักกีฬาอาชีพที่อันดับโลกถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ซึ่งเรื่องนี้พวกเขาได้สร้างมาตรฐานไวลด์การ์ดไว้ทั้งรุ่นเยาวชนและรุ่นมืออาชีพเพื่อพัฒนานักกีฬา และมันก็คล้ายกับที่อังกฤษและออสเตรเลียใช้ในการแข่งขันที่พวกเขาเป็นเจ้าภาพ แต่ในแง่มุมหนึ่งเกี่ยวกับไวลด์การ์ดก็ถูกมองไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เพราะนิวยอร์กไทม์เคยตีพิมพ์บทความกระแซะเรื่องบัตรอภิสิทธิ์นี้ไว้ว่ามันเป็นการเกาหลังให้กันและกันหรือไม่ก็ความล้าหลังของลัทธิชนชั้นสูง ด้วยความที่นักเทนนิส ไวลด์การ์ดหลายคนส่วนใหญ่เป็นนักกีฬามืออันดับโลกค่อนข้างต่ำ ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จยาก อาจจะสร้างความฮือฮาได้แต่ก็ยากที่จะชนะเลิศการแข่งขัน ถึงอย่างนั้นก็มีตำนานในเรื่องนี้ เช่น โกรัน อิวานิเซวิช ชนะชายเดี่ยววิมเบิลดัน 2001 ด้วยการใช้สิทธิ์ไวลด์การ์ด เพราะตอนนั้นเขาเพิ่งหายจากการเจ็บไหล่ทำให้อันดับโลกหล่นไปที่ 125 ไม่พอเข้ารอบแต่แรก อีกอย่างเจ้าตัวเข้าถึงรอบชิงมาถึง 3 ครั้งก่อนหน้า หรือในปี 2009 คิม ไคลจ์เตอร์เพิ่งกลับจากการประกาศแขวนแร็คเก็ตในปี 2007 เพื่อทำหน้าที่ภรรยาและแม่ ตอนกลับมาเริ่มเล่นเทนนิสใหม่ เธอไม่มีอันดับโลกเพราะเพิ่งลงแข่งแค่ 2 รายการยังไม่สามารถติดอันดับโลกได้ ฝ่ายจัดยูเอส