ยิงธนู กีฬาแห่งความสงบนิ่ง

การยิงธนูมีขั้นตอนที่ละเอียด ซับซ้อน และลึกซึ้งมาก ถ้ามองผ่าน ๆ แค่ภายนอกอาจจะดูเหมือนไม่มีอะไรมาก แค่เพียงยกคันธนู เล็ง และยิงไปยังเป้า ก็น่าจะได้แล้ว แต่ในความเป็นจริง การยิงธนู ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่หลายคนคิด การยิงธนูต้องอาศัยทักษะความแม่นยำและสม่ำเสมอ การเล็ง มีสมาธิ ควบคุมร่างกายให้นิ่ง การเกร็งกล้ามเนื้อช่วงบนในขณะที่ยกคันธนูและง้างคันธนูเตรียมยิง ซึ่งน้ำหนักของคันธนูก็มีน้ำหนักไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว กีฬาเดียวที่ต้องหยุดหายใจขณะแข่ง กีฬายิงธนู ถึงแม้จะยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่กีฬาชนิดนี้ ถูกจัดให้เข้าไปอยู่ในการแข่งขันระดับโลกหลายประเภทเลยทีเดียว ทั้งกีฬาซีเกมส์ กีฬาโอลิมปิก กีฬายิงธนูก็ถูกบรรจุอยู่ในนั้นด้วย แต่ทำไมถึงยังไม่เป็นที่นิยมส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ สนามที่ใช้ฝึกซ้อมยังมีน้อย อุปกรณ์กีฬาก็อาจจะยากในการสั่งซื้อ รวมถึงมีราคาสูง โค้ชหรือครูผู้ฝึกสอนอาจจะยังมีน้อย ประสบการณ์ในการเข้าร่วมแข่งขัน หรือสนามที่ต้องเข้าไปร่วมแข่งขันจะต้องมีงบประมาณในการเดินทางไปแข่งสูงจึงอาจเป็นเหตุผลให้กีฬายิงธนูยังไม่เป็นที่นิยมนัก สำหรับประวัติของกีฬาประเภทนี้ไม่มีบันทึกแน่ชัดว่าเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด แต่สันนิษฐานว่าในช่วงยุคเริ่มแรกมีการทำธนูเพื่อล่าสัตว์ และการยิงธนูนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการเริ่มต้นประดิษฐ์ธนู เมื่อมีเวลาว่างจากการทำศึกสงครามแล้วเหล่าพลทหารก็จะทำการแข่งยิงเป้าธนูเพื่อประลองความแม่นยำกัน แต่ไม่ได้ถือเป็นกีฬา เป็นแค่เกมส์ที่แข่งกันสนุก ๆ ในหมู่ทหารเท่านั้น กีฬายิงธนูนั้นได้ถูกบรรจุเข้าในกีฬาโอลิมปิกเมื่อปี 1972 เมื่อมีการบรรจุเข้าแข่งขันทำให้กีฬายิงธนูถูกมองอย่างน่าสนใจเพิ่มขึ้นมีนักกีฬาที่สนใจกีฬาประเภทเพิ่มจำนวนมากขึ้น มีการหัดและฝึกซ้อมกับเยาวชนที่สนใจฝึกความแม่นยำและฝึกสมาธิมากขึ้นเพราะขณะที่เราเล็งเพื่อยิง ต้องหยุดหายใจกันเลยทีเดียวเพื่อความนิ่งที่สุดในการปล่อยคันธนูเพื่อให้ศรเข้าเป้า ในประเทศไทยเราก็มีนักกีฬายิงธนูที่สร้างชื่อเสียงไม่น้อย ที่ผ่านมามีรางวัลสำคัญ ๆ ที่เราเคยได้รับ เช่น เหรียญทองทีมคันธนูโค้งกลับชาย ซีเกมส์ปี 2009