ตำนานลูกเทนนิส จากงานทำมือวันวานสู่ปีละ 325 ล้านลูก

ลูกเทนนิสถูกผลิตขึ้นครั้งแรก ๆ ตั้งแต่ช่วง 1870s เพื่อใช้เป็นเกมเล่นในวังของพวกผู้ดีและชาวสังคมชั้นสูง ซึ่งตั้งแต่เดิมการเล่นเทนนิสก็ไม่แตกต่างจากปัจจุบันที่มีเล่นทั้ง 2 คนและ 4 คน แต่สิ่งที่เป็นเรียล เทนนิส บอลคือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปมากที่สุดในบรรดาองค์ประกอบของเทนนิสทั้งหมด ในช่วงทศวรรษ 1850s ชาร์ลส์ กู๊ดเยียร์ นักประดิษฐ์ชาวเยอรมันได้ค้นพบกระบวนการหลอมเหลวน้ำยางจากอินเดียเป็นรูปกลมและอัดอากาศไว้ภายใน ตอนนั้นคงไม่มีใครคิดว่ามันจะกลายมาเป็นลูกเทนนิสเพราะมันเป็นเพียงลูกบอลยางกลมโล้น ๆ น้ำหนักเบาสีเทาหรือแดง ซึ่งต่อมาในปี 1870s วอลเตอร์ คล็อปตั้น วิงก์ฟิลด์กับเฮนรี่ เจมส์เป็นคนเอาเทคโนโลยีนี้เข้ามาอังกฤษ พวกเขาตั้งใจจะเอามาใช้สำหรับเล่นโครเก้ต์เท่านั้นเอง แต่มันก็ถูกเอามาตีเล่นสำหรับเทนนิสด้วย ในเวลาต่อมาก็ได้จอห์น เมเยอร์ ฮีทโค้ตที่แนะนำว่าน่าจะหาอะไรห่อมันซักหน่อย อาจจะผ้าแฟลนเนล ซึ่งวิงก์ฟิลด์ก็รับเอาแนวคิดนี้และทำมันออกมาเป็นผลสำเร็จในปี 1882 โดยมันถูกผลิตขึ้นที่ Melton Mowbray หลังผ่านการคิดค้นหาสารพัดของที่จะเอามาหุ้มยางที่เป็นแกนข้างในซึ่งบรรจุก๊าซเอาไว้ ในที่สุดรูปทรงพื้นฐานของลูกเทนนิสก็ถูกดีไซน์ออกมาในฟอร์มของใบโครฟเวอร์ 3 กลีบ จากนั้นใช้เครื่องมือประกอบมันขึ้นเป็นรูปทรงกลม ประสานรอยต่อด้วยน้ำยาเคมีและความร้อนกลายเป็นตะเข็บยาง พร้อมทั้งอัดอากาศไว้ข้างใน  และมันมีสีขาวทั้งลูก ทว่ามันจะเสียคุณสมบัติในการกระเด้งกระดอนทันทีที่มันมีรอยเปิดฉีก ลูกเทนนิสมีการพัฒนามาเรื่อย ๆ มันถูกทำให้เริ่มมีสีสันด้วยการใช้ผ้าสีแดงและเหลืองในการห่อหุ้ม พร้อมกำหนดมาตรฐานสำหรับการเล่นโดยยึดเรื่องของความเร็วเป็นหลัก หลังผ่านมาเกือบ 100 ปี สมาพันธ์เทนนิสโลกหรือ

นักเทนนิสหญิงคนดัง ใครยิ่งใหญ่กว่ากัน

วงการเทนนิส WTA มีนักกีฬาเทนนิสหญิงระดับสุดยอดหลายคน แต่ถ้าจะถูกยกมาเทียบกันมากที่สุดจะมีสามรายชื่อนี้เสมอ สเตฟี่ กราฟ, มาร์ติน่า นาฟราติโลว่าและเซเรน่า วิลเลี่ยม แต่ใครคือเบอร์ 1 ที่แท้จริง เป็นข้อถกเถียงเสมอทุกครั้งที่มีการจัดอันดับว่าใครควรเป็นผู้หญิงที่เก่งที่สุดในวงการเทนนิสโลก แทบทุกครั้งที่มีการจัดอันดับไม่ว่าจะ 100 นักเทนนิสหญิงที่เก่งที่สุดหรือจะ 10 นักเทนนิสหญิงที่เก่งที่สุด มันจะตามมาด้วยข้อโต้แย้งและถกเถียงถึงหลักการในการเลือกเสมอไป ล่าสุดสื่ออย่าง MSN ยกเซเรน่า วิลเลี่ยมขึ้นที่ 1 ตามด้วยสเตฟี่ กราฟและนาฟราติโลว่า ขณะที่เว็บรับผลโหวตเบอร์ต้นอย่าง Ranking.com ผู้คนต่างโหวตให้สเตฟี่ กราฟเหนือกว่าเซเรน่า โดยมีนาฟราติโลว่าตามมาในอันดับ 3 ผลงานการคว้าแชมป์ของทั้งหมดมักถูกเทียบด้วยการคว้าแชมป์แกรนด์ สแลม หากดูตามสถิติ สเตฟี่ กราฟได้แชมป์ที่ออสเตรเลีย 4 ครั้งจากการเข้าชิง 5 ครั้ง ที่เฟร้นช์ โอเฟ่นได้แชมป์ 6 ครั้งจากการชิง 9 ครั้ง เกมที่วิมเบิลดันคว้าแชมป์ 7 ครั้งจากการชิง 9 ครั้ง และยูเอส โอเพ่นที่เป็นแชมป์ 5

การเดินทางข้ามโลกของกีฬาเทนนิสสู่ดินแดนขวานทองประเทศไทย

การเดินทางเปรียบเสมือนกับการท่องเที่ยว ที่มาพร้อมกับการผจญภัยและความสนุกสานที่ยากจะหยั่งถึง ซึ่งในความยากจะหยั่งถึงนั้นยังคงมีประวัติศาสตร์แห่งความทรงจำที่งอกเงยระหว่างทาง และได้ผลิดอกออกผลมาจนถึงปัจจุบัน แม้จะผ่านเส้นทางเหล่านั้นมานานแสนนาน ดังเช่นกับกีฬาเทนนิสที่เติบโตขึ้นในดินแดนอันไกลโพ้นและได้ข้ามน้ำข้ามทะเลและท้องฟ้ามางอกเงยเติบโตอย่างสวยงามที่ดินแดนขวานทองประเทศไทย จนกลายเป็นกีฬาที่งดงามและนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีชาวต่างชาติเข้ามาทำการค้าและธุรกิจเป็นอย่างมากในประเทศไทย ซึ่งได้มีทั้งประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาร่วมทำการค้าภายในประเทศไทยในช่วงเวลานั้นด้วย พร้อมทั้งได้นำการเล่นกีฬาเทนนิสเข้ามาเล่นกันภายในประเทศไทย โดยในตอนแรกนั้นมีเพียงแค่ชาวต่างชาติเล่นเท่านั้นก่อนที่จะเริ่มได้รับความสนใจจากคนไทยชั้นสูงพร้อมกับข้าราชการชั้นสูงจนได้เริ่มมาฝึกเล่นด้วยกันกับชาวต่างชาติและเรียกการเล่นกีฬานี้ว่าลอนเทนนิส การเล่นกีฬาเทนนิสในสมัยนั้นต้องนุ่งกางเกงขายาวสีขาว ตามแบบฉบับบของรายการวิมเบิลดัน ถือเป็นการให้เกียรติและเคารพตามหลักกติกาสากล หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2469 กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้ทรงจัดตั้งสมาคมลอนเทนนิสแห่งประเทศไทยขึ้นมา เพราะเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่ประชาชนทั่วไปจนได้มีการจัดการแข่งขันลอนเทนนิสแห่งประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรกที่สโมสรสีลมในปี พ.ศ. 2470 ในอีก 1 ปีต่อมา จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงรับเอาสมาคมลอนเทนนิสแห่งประเทศไทยเข้ามาไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ เนื่องจากพระองค์ทรงโปรดกีฬาเทนนิสเป็นอย่างมากและทรงเทนนิสที่วังสุโขทัยอยู่เสมอ หลังจากนั้นได้มีการจัดการแข่งขันขึ้นมามากมายในหลายระดับชั้นอายุทั่วประเทศเพื่อคัดความเป็นที่หนึ่งในด้านกีฬาเทนนิสของประเทศไทย ซึ่งในเวลาต่อมากีฬาเทนนิสยังได้ถูกบรรจุลงในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 5 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปี 2509 เป็นครั้งแรกอีกด้วย และชัยชนะในระดับนานาชาติของประเทศไทยเกิดขึ้นครั้งแรกในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 8 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2521 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพอีกครั้ง โดยนักเทนนิสประเภทคู่ผสมของไทย คือ จารึก เฮงรัศมี นักเทนนิสชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ และสุทธาสินี ศิริกายะ ได้คว้าแชมป์เป็นเกียรติประวัติครั้งแรกให้กับประเทศไทย ซึ่งในเวลาต่อมาการเล่นกีฬาเทนนิสของประชาชนชาวไทยได้พัฒนาขึ้นไปอย่างคาดไม่ถึง โดยในระดับโลกนั้นนักเทนนิสชาวไทย ภราดร ศรีชาพันธ์ได้นำสุดยอดความสามารถไปสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการกีฬาเทนนิสไทยด้วยการก้าวขึ้นไปเป็นมือวางอันดับ

ภาพยนตร์ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากกีฬาเทนนิส ที่ควรค่าแก่การรับชม

ความน่าหลงใหลของกีฬาเทนนิสมีด้วยกันหลากหลายมิติมาอย่างช้านาน จึงทำให้ระดับกีฬาเทนนิสมีความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งยังรักษาความยาวนานอันเก่าแก่มาได้จวบจนปัจจุบัน อีกทั้งยังได้สร้างแรงบันดาลใจและความฝันให้เด็กรุ่นใหม่ทั่วโลก ได้มีหนทางและบันไดที่จะก้าวขึ้นไปเป็นนักกีฬาอาชีพ ที่จะสานต่อกีฬานี้ให้พัฒนามากขึ้นไปในอนาคต ซึ่งกีฬาเทนนิสนอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับความใฝ่ฝันของเด็กรุ่นใหม่ในอนาคตแล้ว ยังได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับแวดวงภาพยนต์อีกด้วย ภาพยนตร์ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากกีฬาเทนนิสที่ได้สร้างและออกฉายสู่สายตาทั่วโลกแล้ว มีด้วยกันทั้งหมด 2 เรื่องคือ แมทช์พอยท์ และ วิมเบิลดัน โดยทั้งสองเรื่องมีการนำเสนอเกี่ยวกับกีฬาเทนนิสออกมาในคนละแนวทาง ซึ่งเรื่องของแมทช์พอยท์นั้นเป็นภาพยนต์ที่นำเสนอเกี่ยวกับการเปรียบเทียบการเล่นเทนนิส กับเรื่องราวของชีวิตที่ต้องตัดสินใจลงไปให้ดีที่สุด ราวกับการตัดสินใจหวดลูกเพื่อชัยชนะในครั้งสุดท้าย ส่วนในภาพยนตร์เรื่องวิมเบิลดันนั้น เป็นการนำเสนอเรื่องราวของนักกีฬาเทนนิสในระหว่างการแข่งขัน เพื่อไปให้ถึงจุดสุดท้ายของสุดยอดแกรนด์แสลมที่เรียกว่าวิมเบิลดัน ทั้งสองเรื่องราวภาพยนตร์มีการดำเนินเรื่องที่แตกต่างกัน แต่ในทั้งสองเรื่องนั้นก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากกีฬาเทนนิสด้วยกันทั้งสองเรื่อง โดยภาพยนตร์เรื่องแมทช์พอยท์ ที่กำกับจากฝีมือของวู๊ดดี้ อัลเลน ยอดผู้กำกับชื่อดังของอุตสาหกรรมภาพยนต์ ได้นำสิ่งที่ได้สัมผัสจากการแข่งขันกีฬาเทนนิสมาถ่ายทอดเรื่องราวให้ผนวกกับการใช้ชีวิตได้อย่างเข้มข้นและละเอียดอ่อน ส่วนในภาพยนตร์เรื่อ วิมเบิลดันนั้น เป็นภาพยนตร์ที่กำกับโดย ริชาร์ด ลอนเครน ผู้กำกับรางวัลเอ็มมี อวอร์ดส ผู้ซึ่งได้ใช้กลิ่นอายของการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดันมาละลายแรงบันดาลใจผ่านทางแผ่นฟิล์มให้หัวใจของผู้รับชมตื่นเต้นไปกับเรื่องราวส่วนลึกของนักเทนนิส ที่ต้องลงแข่งขันในรายการนี้ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ทำให้ทั้งคนที่ชื่นชอบเทนนิสและไม่ได้ชื่นชอบในกีฬาเทนนิส ได้ให้มาสนใจการแข่งขันกีฬาชนิดนี้มากขึ้น กีฬาที่กลายมาเป็นแรงบันดาลใจในการสรรสร้างในทิศทางที่แตกต่างออกไป มักเป็นกีฬาที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังและความสวยงาม ซึ่งกีฬาเทนนิสเป็นอีกชนิดกีฬาที่เพียบพร้อมไปด้วยคุณสมบัติเหล่านั้น จึงทำให้กีฬาเทนนิสกลายเป็นสัญลักษณ์ของแรงบันดาลใจอีกหนึ่งกีฬา ที่อยู่ในความฝันของคนทั่วโลกที่ฝันอยากจะเป็น และในปีนี้ยังมีภาพยนต์เกี่ยวกับเทนนิสอีกหนึ่งเรื่องที่กำลังจะฉายในเดือนพฤศจิกายน 2018 โดยมีชื่อเรื่องว่า Borg vs McEnroe เป็นเรื่องที่สามที่ใช้กีฬาเทนนิสในการถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับกีฬาเทนนิส ในศึกวิมเบิลดัลปี 1980 อันเป็นศึกที่ถูกยกย่องให้เป็นเกมส์การแข่งขันรอบสุดท้ายที่ยอดเยี่ยมที่สุดในประวัติศาสตร์วิมเบิลดัน